ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
โตเกียว--29 พ.ย.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นดัชนีที่ไม่รวมราคาอาหารสด พุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดที่ +2.1% และเร่งตัวขึ้นจาก +1.8% ในเดือนต.ค. โดยรายงานนี้แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของกรุงโตเกียวอยู่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ตั้งไว้ที่ 2% และบ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อขยายวงกว้างยิ่งขึ้น โดยปัจจัยนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 40% ที่บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. และมีโอกาส 60% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับราว 50% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน
ดอลลาร์/เยนดิ่งลง 0.81% สู่ 150.31 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 149.83 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 6 สัปดาห์ ส่วนยูโร/ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ 1.0567 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0333 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022 หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 ปี ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลง 0.16% สู่ 105.92 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากร่วงลงแตะ 105.84 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ และออกห่างจากจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ทั้งนี้ ปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.16% สู่ 1.2707 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.2712 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.21% สู่ 0.6513 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับขึ้น 0.21% สู่ 0.5901 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
ยูโรปรับขึ้นในวันนี้ หลังจากอ่อนค่าลงเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากปัญหาขัดแย้งด้านงบประมาณในฝรั่งเศส และจากถ้อยแถลงแบบสายพิราบของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยนายฟรองซัวส์ วิลเลอรอย เดอ กาโย ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศสกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า อีซีบีควรจะเปิดทางเลือกสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในเดือนธ.ค. และเขากล่าวเสริมว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะร่วงลงสู่ระดับที่สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูรัฐบาลผสมของฝรั่งเศสที่อยู่ในภาวะเปราะบาง และกำลังประสบปัญหาในการผ่านงบประมาณในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมิเชล บาร์เนียร์ของฝรั่งเศสอาจจะล่มลงในสัปดาห์หน้า ถ้าหากนักการเมืองฝ่ายขวาจัดและฝ่ายซ้ายผลักดันญัตติไม่ไว้วางใจ
ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 2% จากเดือนต.ค. หลังจากดัชนีดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นกว่า 3% ในเดือนต.ค. โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ จะช่วยกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงนโยบายการใช้จ่ายขนาดใหญ่, นโยบายปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า และนโยบายคุมเข้มพรมแดน อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 1.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรูดลงในช่วงนี้
เยนมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นราว 3% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เยนได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของนายทรัมป์ และเยนก็ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจด้วย อย่างไรก็ดี นายโชกิ โอโมริ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบล.มิสุโฮคาดว่า บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในเดือนธ.ค. โดยเขากล่าวว่า "การบริโภคที่แท้จริงในภาคบริการ ซึ่งครองน้ำหนักมากในดัชนีราคาผู้บริโภคที่กรุงโตเกียว กำลังปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผมมองว่าปัจจัยนี้ยังไม่มากพอที่จะส่งผลให้บีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทนปรับลดลง" และเขากล่าวเสริมว่า "เราสามารถสรุปได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และเนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมุ่งความสนใจไปยัง 'การเอาชนะภาวะเงินฝืด' และเตรียมที่จะจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.จึงยังคงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ต่ำ" นอกจากนี้ นายโอโมริยังกล่าวอีกด้วยว่า หากมองจากปัจจัยทางเทคนิคแล้ว ดอลลาร์/เยนก็อยู่ในระดับที่มี "คำสั่งขายเข้ามามากเกินไป" และดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะดีดขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 152 เยนได้ก่อนสิ้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
29 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดเงินนิวยอร์คปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 28 พ.ย.เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ในขณะที่ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงการซื้อขายที่ตลาดอื่น ๆ ในวันพฤหัสบดี หลังจากที่ยูโรเพิ่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ทั้งนี้ สำนักงานสถิติของรัฐบาลกลางเยอรมนีรายงานในวันพฤหัสบดีว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีทรงตัวที่ 2.4% ในเดือนพ.ย. ซึ่งเท่ากับระดับ 2.4% ในเดือนต.ค. และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 2.6% ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดเงินคาดว่า มีโอกาส 100% เต็มที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค. และมีโอกาสเพียง 13% ที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากระดับราว 50% ในวันศุกร์ที่แล้ว
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.09 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 106.07 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 105.85 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 151.54 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 151.10 เยน และเทียบกับระดับ 150.44 เยนที่ทำไว้ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบราว 5 สัปดาห์
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0553 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0564 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยยูโรมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง
นายคาร์สเตน เบรสกี จากบริษัท ING กล่าวว่า "ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคในยูโรโซนที่ได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี น่าจะช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สายเหยี่ยวในอีซีบีคัดค้านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในเดือนธ.ค." ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูรัฐบาลผสมของฝรั่งเศสที่อยู่ในภาวะเปราะบาง และกำลังประสบปัญหาในการผ่านงบประมาณในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมิเชล บาร์เนียร์ของฝรั่งเศสอาจจะล่มลงในสัปดาห์หน้า ถ้าหากนักการเมืองฝ่ายขวาจัดและฝ่ายซ้ายผลักดันญัตติไม่ไว้วางใจ
เยนพุ่งขึ้นมาแล้ว 2.1% ในสัปดาห์นี้ และอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 เดือน ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 40% ที่บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. และมีโอกาส 60% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับราว 50% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ นายไมเคิล บราวน์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทเพพเพอร์สโตนกล่าวว่า "ผมคาดว่าดัชนีดอลลาร์จะดีดขึ้นในช่วงต่อไปในเดือนธ.ค." และเขากล่าวเสริมว่า "เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ยูโรโซนประสบปัญหามากมายหลายอย่าง และก็มีความกังวลเรื่องงบประมาณฝรั่งเศสในช่วงนี้ด้วย" นอกจากนี้ เขายังระบุอีกด้วยว่า การที่ดัชนีดอลลาร์ร่วงผ่านระดับ 106 ลงไปในวันพุธดูเหมือนว่าเป็น "สิ่งที่ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน"
รูเบิลของรัสเซียพุ่งขึ้น 4.55% สู่ 108.00 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี จาก 113.15 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากรูเบิลเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงนับตั้งแต่เดือนส.ค.เป็นต้นมา โดยรูเบิลดิ่งลงราว 33% จากระดับ 86.15 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ค. สู่ 114.50 รูเบิลต่อดอลลาร์ในวันที่ 27 พ.ย. ทั้งนี้ รูเบิลได้รับแรงหนุนในช่วงนี้ หลังจากธนาคารกลางรัสเซียประกาศว่า ทางธนาคารกลางจะยุติการซื้อสกุลเงินต่างชาติจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อหนุนค่าเงินรูเบิล--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สิงคโปร์--28 พ.ย.--รอยเตอร์
ยูโรขยับลงในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากพุ่งขึ้น 0.74% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายวันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 4 เดือน หลังจากอิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แสดงความเห็นแบบสายเหยี่ยวเมื่อวานนี้ โดยเธอกล่าวต่อสำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า อีซีบีควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับที่เป็นกลาง แทนที่จะปรับลดลงสู่ระดับที่ผ่อนคลาย โดยถ้อยแถลงของเธอส่งผลให้นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี ทั้งนี้ ยูโรเผชิญกับแนวต้านที่ระดับราว 1.06 ดอลลาร์ในช่วงนี้ และยูโรอาจจะพุ่งขึ้นทดสอบระดับดังกล่าว ถ้าหากเยอรมนีรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินคาดในช่วงต่อไปในวันนี้
ดอลลาร์/เยนแข็งค่าขึ้น 0.26% สู่ 151.49 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 150.44 เยนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบราว 5 สัปดาห์ ส่วนยูโร/ดอลลาร์ขยับลง 0.09% สู่ 1.0554 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับขึ้น 0.10% สู่ 106.18 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 105.85 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ทั้งนี้ ปอนด์ขยับลง 0.07% สู่ 1.2667 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้น 0.89% ในวันพุธ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียขยับลง 0.04% สู่ 0.6495 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากแข็งค่าขึ้น 0.36% ในวันพุธ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับลง 0.05% สู่ 0.5892 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้น 1.04% ในวันพุธ
เยนมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 เดือน โดยเยนได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. โดยนักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 44% ที่บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. และมีโอกาส 56% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับราว 50% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ ดอลลาร์/เยนเพิ่งดิ่งลงผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันที่ 151.99 เยนในวันพุธ และรูดลง 1.31% ในวันพุธ ส่วนยูโร/เยนแข็งค่าขึ้น 0.16% สู่ 159.91 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากร่วงลง 0.58% เมื่อวานนี้ โดยยูโรได้ดิ่งลงแตะ 159.09 เยนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.เป็นต้นมา
เจน โฟลีย์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารราโบแบงก์ระบุว่า "ดอลลาร์/เยนได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งเกินคาดในญี่ปุ่น และจากความเสี่ยงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งในเดือนธ.ค." นอกจากนี้ ดอลลาร์ก็ร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลด้วย ในขณะที่ภาคเอกชนลดความต้องการซื้อดอลลาร์ลง หลังจากภาคเอกชนได้เข้าซื้อดอลลาร์สำหรับใช้ในช่วงสิ้นเดือนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ในสหรัฐ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงจาก 4.302% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.242% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากสำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐปรับขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. ส่วนดัชนี PCE แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.3% ในเดือนต.ค. หลังจากปรับขึ้น 2.1% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี โดยธนาคารกลางสหรัฐมักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ
เรียลของบราซิลดิ่งลงกว่า 2% สู่สถิติต่ำสุดใหม่ที่ 5.9389 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐในวันพุธ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลบราซิลประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.385% โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า มาตรการปรับลดภาษีเงินได้ของบราซิลจะส่งผลกระทบต่องบประมาณของบราซิล--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ลอนดอน--27 พ.ย.--รอยเตอร์
ยูโร/ดอลลาร์ดิ่งลงมาแล้วราว 3.8% จากช่วงต้นเดือนพ.ย. และอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2022 ในขณะที่นักวิเคราะห์เตือนว่า การแกว่งตัวผันผวนของยูโรอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดการเงินโลกแกว่งตัวผันผวนได้ในอนาคต หลังจากที่การแกว่งตัวของค่าเงินเยนเคยส่งผลให้เกิดภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดสินทรัพย์หลายประเภทมาแล้วในเดือนส.ค. โดยยูโรอยู่ที่ 1.0488 ดอลลาร์ในวันนี้ และอาจจะร่วงลงเข้าใกล้ระดับสำคัญที่ 1.0000 ดอลลาร์ โดยยูโรได้รับแรงกดดันในช่วงที่ผ่านมาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงนโยบายด้านภาษีศุลกากรของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ, ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยูโรโซน ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 20 ประเทศ และสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เทรดเดอร์และนักลงทุนมีความเห็นที่แตกต่างกันไปต่อประเด็นที่ว่า ยูโร/ดอลลาร์จะมีทิศทางอย่างไรต่อไปในอนาคต ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการด้านภาษีศุลกากร และจากยอดหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้น โดยความไม่แน่นอนนี้อาจจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการลงทุนแบบ Trump trades ที่ได้รับความนิยมสูง โดยการลงทุนดังกล่าวครอบคลุมถึงการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า ยูโรจะร่วงลงในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งสูงขึ้น
นายคิท จัคส์ หัวหน้าฝ่ายแผนยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารโซซิเอเต เจเนอราลกล่าวว่า "ตลาดจะแกว่งตัวผันผวน เพราะนักลงทุนจะเริ่มคิดว่า ยูโรจะดิ่งลงผ่านระดับ 1.0000 ดอลลาร์ลงไปหรือไม่ หรือว่ายูโรจะดีดกลับขึ้นมา โดยอย่างน้อยที่สุดเราก็จะพบว่ามีการอภิปรายกันมากยิ่งขึ้นในเรื่องการปรับตัวของยูโรในทั้งสองทิศทาง และผมก็ไม่มั่นใจว่าการที่สินทรัพย์ต่างประเภทปรับตัวสอดคล้องกันเป็นอย่างมากแบบนี้จะยังคงดำเนินต่อไปหรือไม่" ทั้งนี้ ดอลลาร์/เยนเคยแกว่งตัวผันผวนเป็นอย่างมากในช่วงต้นเดือนส.ค. ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่เคยลงทุนตามการคาดการณ์ในทางลบต่อค่าเงินเยน และปัจจัยดังกล่าวก็ส่งผลให้มีการเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อนำเงินไปใช้ในการวางหลักประกันเพิ่ม ทางด้านผู้ควบคุมกฎระเบียบประกาศเตือนว่า ตลาดการเงินอาจจะเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้ได้อีก เมื่อใดก็ตามที่การลงทุนที่ได้รับความนิยมสูงปรับเปลี่ยนทิศทางไปอย่างรวดเร็ว เพราะว่ามีการใช้เงินกู้ในการลงทุนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ นายจัคส์ยังระบุอีกด้วยว่า "ถ้าหากยูโรร่วงผ่านระดับ 1.0000 ดอลลาร์ลงไป ก็จะมีการพูดกันถึงประเด็นนี้อีกครั้ง"
ยูโร/ดอลลาร์ถือเป็นคู่สกุลเงินที่ได้รับการซื้อขายมากที่สุดในโลก ในขณะที่ดอลลาร์/เยนครองอันดับสอง, ปอนด์/ดอลลาร์ครองอันดับสาม, ดอลลาร์/หยวนครองอันดับสี่ และดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดาครองอันดับห้า ทางด้านนักวิเคราะห์มองว่า ถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนยูโร/ดอลลาร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้ก็จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อผลกำไรของบริษัทข้ามชาติ และต่อแนวโน้มเศรษฐกิจกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ถ้าหากประเทศนั้นนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์และส่งออกสินค้าที่ตั้งราคาในรูปสกุลเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ นายเธมอส ฟิโอทาคิส หัวหน้าฝ่ายแผนยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารบาร์เคลย์สระบุว่า "ยูโรถือเป็นเกณฑ์อ้างอิง" เพราะว่าประเทศที่มีความอ่อนไหวทางการค้า อย่างเช่นจีน, เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ อาจจะปล่อยให้สกุลเงินของประเทศตนเองดิ่งลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าหากยูโรรูดลงต่อไป เพื่อที่ว่าสินค้าส่งออกของประเทศของตนเองจะได้สามารถแข่งขันกับสินค้าส่งออกของยูโรโซนได้ต่อไป นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า ปอนด์ก็มีความอ่อนไหวเป็นอย่างมากต่อยูโรด้วยเช่นกัน โดยปอนด์/ดอลลาร์ดิ่งลงมาแล้วกว่า 2% จากช่วงต้นเดือนนี้
ตลาดมีความอ่อนไหวต่ออัตราแลกเปลี่ยนยูโร/ดอลลาร์มากยิ่งขึ้น หลังจากเทรดเดอร์รีบเร่งทำสัญญาออปชั่นที่ครอบคลุมการลงทุนแบบข้ามสินทรัพย์ โดยเป็นผลจากนโยบายต่าง ๆ ของนายทรัมป์ ซึ่งรวมถึงการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า ยูโรจะดิ่งลงและดัชนี S&P ของตลาดหุ้นสหรัฐจะพุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ นายแอลวิส มาริโน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารยูบีเอสระบุว่า นักลงทุนกำลังประเมินความเสี่ยงในเรื่องการแกว่งตัวของยูโร/ดอลลาร์ในระดับที่ต่ำเกินไป โดยมาตรวัดอุปสงค์ของนักลงทุนสำหรับความคุ้มครองจากการแกว่งตัวของยูโร/ดอลลาร์ในระยะใกล้ อยู่ที่ระดับราว 8% ในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับระดับใกล้ 14% ที่เคยทำไว้ในช่วงที่ยูโรดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ครั้งล่าสุดในเดือนต.ค. 2022 นอกจากนี้ นายมาริโนยังกล่าวเสริมว่า "ความผันผวนที่เกิดขึ้นจริงในตลาดปริวรรตเงินตราจะอยู่สูงกว่าระดับที่นักลงทุนคาดการณ์กันไว้ในปัจจุบัน" และเขาแนะนำให้ลูกค้าทำประกันความเสี่ยงต่อสกุลเงินโดยผ่านทางการทำสัญญาตราสารอนุพันธ์ที่จะจ่ายเงิน ถ้าหากความผันผวนของยูโรในอีกหนึ่งปีข้างหน้าอยู่สูงกว่าระดับปัจจุบัน
นักลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวคาดการณ์แตกต่างกันไปในเรื่องทิศทางของยูโร/ดอลลาร์ และความแตกต่างกันนี้บ่งชี้ว่า ยูโร/ดอลลาร์อาจจะแกว่งตัวผันผวนในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยนายวิลเลม เซลส์ จากธนาคาร HSBC ระบุว่า "เราคาดว่ายูโรจะดิ่งลงสู่ระดับ 99 เซนต์สหรัฐภายในช่วงกลางปีหน้า" แต่นายแวงซองต์ มอร์ติเยร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทอามุนดี ซึ่งถือเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรประบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนอาจจะช่วยกระตุ้นธุรกิจและปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในยูโรโซน และอาจจะช่วยหนุนยูโรให้พุ่งขึ้นสู่ 1.16 ดอลลาร์ภายในช่วงปลายปี 2025 ทั้งนี้ เทรดเดอร์ในตลาดออปชั่นคาดการณ์ว่า มีโอกาส 56% ที่ยูโรจะอยู่สูงกว่าระดับ 1.047 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปี แต่ธนาคารเจพี มอร์แกนกับธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า ยูโรอาจจะดิ่งลงสู่ 1 ดอลลาร์ได้ โดยขึ้นอยู่กับมาตรการภาษีนำเข้า นอกจากนี้ ยูโรก็ได้รับแรงกดดันในช่วงที่ผ่านมาจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 2.75% ในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--27 พ.ย.--รอยเตอร์
บริษัทข้ามชาติหลายแห่งกำลังปรับเพิ่มการทำประกันความเสี่ยง (เฮดจ์) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงนี้ เพื่อปกป้องผลกำไรในต่างประเทศไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการแกว่งตัวผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์กำลังจะเริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นสมัยที่สองในช่วงต้นปีหน้า และนโยบายต่าง ๆ ของเขาอาจจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นับตั้งแต่สหรัฐจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พ.ย. หรือเมื่อราว 3 สัปดาห์ก่อน นักยุทธศาสตร์การลงทุนและผู้บริหารธนาคารก็ระบุว่า บริษัทต่าง ๆ แสดงความสนใจมากยิ่งขึ้นในออปชั่นและการทำสัญญาสว็อปข้ามสกุลเงิน เพราะว่าบริษัทเหล่านี้มุ่งความสนใจไปยังประเด็นที่ว่า สกุลเงินอาจจะแกว่งตัวผันผวนเป็นอย่างมากในยุคของปธน.ทรัมป์ โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มการแพทย์และกลุ่มอุตสาหกรรม
นายคาร์ล ชามอททา หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนตลาดของบริษัทคอร์เพย์ระบุว่า "การเลือกตั้งในสหรัฐถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้ทำประกันความเสี่ยงคิดถึงความเสี่ยงด้านสกุลเงิน" และเขากล่าวเสริมว่า "ธุรกิจหลายแห่งเคยพึงพอใจกับทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนและขนาดความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเวลานาน ก่อนที่ผลการเลือกตั้งจะส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้เลิกชะล่าใจ" ทั้งนี้ ชัยชนะของนายทรัมป์ในการเลือกตั้งจะเปิดโอกาสให้เขาสามารถดำเนินมาตรการด้านภาษีศุลกากรและมาตรการกีดกันทางการค้า และมาตรการเหล่านี้อาจจะส่งผลให้สกุลเงินแกว่งตัวผันผวน โดยนายทรัมป์เพิ่งประกาศในวันจันทร์ว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดที่มาจากเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากสินค้าจีน โดยเขาอ้างว่ามาตรการนี้เป็นการตอบโต้การค้ายาผิดกฎหมายและการปล่อยให้ผู้อพยพเข้าสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย ทางด้านดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดาขยับลง 0.03% สู่ 1.4051 ดอลลาร์แคนาดาในวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นกว่า 1.5% จนแตะระดับ 1.4178 ดอลลาร์แคนาดาในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 หรือจุดสูงสุดรอบ 4 ปีครึ่ง ส่วนดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกพุ่งขึ้น 0.33% สู่ 20.695 เปโซในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นกว่า 2.5% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร จนแตะระดับ 20.835 เปโซได้ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ/หยวนก็แข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ 7.2657 หยวนในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 7.2726 หยวนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค.
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.5% นับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายด้านการค้าและภาษีศุลกากรของนายทรัมป์จะส่งผลบวกต่อดอลลาร์ โดยนายทรัมป์เคยประกาศอีกด้วยว่า เขาตั้งใจที่จะปรับปรุงข้อตกลงการค้าสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) ให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการปรับเปลี่ยนข้อตกลงนี้จะมีรายละเอียดอย่างไร ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า สกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับการค้าเคยแกว่งตัวอย่างรุนแรงในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยแรกในปี 2017-2020 และสิ่งนี้ก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการทำประกันความเสี่ยงในช่วงนี้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางในอีกหลายประเทศทั่วโลกก็กำลังปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติในช่วงนี้ และพยายามรักษาสมดุลระหว่างความกังวลเรื่องความอ่อนแอทางเศรษฐกิจกับความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อ และปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะกระตุ้นให้สกุลเงินแกว่งตัวผันผวนได้ด้วยเช่นกันในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
ผลสำรวจโดยบริษัทมิลล์เทคเอฟเอ็กซ์ที่จัดทำในวันที่ 7-18 พ.ย.ระบุว่า เจ้าหน้าที่ผู้ตัดสินใจทางการเงินราว 94% ในบริษัทสหรัฐและอังกฤษระบุว่า ผลการเลือกตั้งในสหรัฐกระตุ้นให้พวกเขาปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์การทำประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยเจ้าหน้าที่บางคนพยายามขยายระยะเวลาการทำประกันความเสี่ยงออกไป และเจ้าหน้าที่บางคนก็ปรับเพิ่มสัดส่วนการทำประกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ผลสำรวจก็ระบุอีกด้วยว่า บริษัทหลายแห่งคาดว่าความไม่แน่นอนทางการค้าจะส่งผลลบเป็นอย่างมากต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและทวีปยุโรปด้วย ทั้งนี้ บริษัทในดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐมีรายได้ราว 41% มาจากนอกสหรัฐ และบริษัทหลายแห่งก็พยายามทำประกันความเสี่ยงสำหรับยูโรและเปโซเม็กซิโกในช่วงนี้ โดยเปโซเม็กซิโกดิ่งลงมาแล้วราว 2% นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และรูดลงมาแล้วเกือบ 17% จากช่วงต้นปีนี้ ทางด้านพอลา คัมมิงส์ จากธนาคารยูเอสแบงก์ระบุว่า ถึงแม้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐกับเม็กซิโกตึงตัวมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่การเลือกตั้ง ต้นทุนในการทำประกันความเสี่ยงสำหรับสถานะซื้อเปโซก็เพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นผลจากการดิ่งลงของเปโซ และเธอกล่าวเสริมว่า "ผู้ที่ขายเปโซเม็กซิโกและเข้าซื้อดอลลาร์ในตอนนี้อาจลังเลที่จะปรับเพิ่มวอลุ่มการทำประกันความเสี่ยงสัญญาฟอร์เวิร์ด แต่อาจจะพิจารณาออปชั่นในฐานะทางเลือกหนึ่ง"
ยูโร/ดอลลาร์ดิ่งลงมาแล้วราว 4% นับตั้งแต่การเลือกตั้งในสหรัฐ ในขณะที่คัมมิงส์กล่าวว่า นักลงทุนไม่ได้ปรับตัวรับผลกระทบที่ยูโรจะได้รับในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากเปโซเม็กซิโกและหยวนของจีนที่ปรับตัวรับผลกระทบไปแล้วตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง โดยยูโรได้รับแรงกดดันในช่วงนี้จากข่าวเรื่องภาษีศุลกากร, จากปัญหาทางเศรษฐกิจในเยอรมนี และจากความอ่อนแอในภาคโรงงานในหลายประเทศในยุโรป ทั้งนี้ คัมมิงส์ระบุว่า บริษัทบางแห่งในกลุ่มการแพทย์และกลุ่มอุตสาหกรรมของสหรัฐแสดงความสนใจที่จะใช้สัญญาสว็อปข้ามสกุลเงินยูโรเพื่อบริหารความเสี่ยง และเพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย ทางด้านนายฮวน เปเรซ จากบริษัทโมเน็กซ์ ยูเอสเอระบุว่า "ผลการเลือกตั้งส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นที่จะต้องทำความเข้าใจว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับใดที่จะส่งผลให้บริษัทบางแห่งไม่สามารถดำเนินธุรกิจในต่างประเทศได้ ถ้าหากต้องรับมือกับอัตราภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นหรือรับมือกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนไป"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--27 พ.ย.--รอยเตอร์
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศในวันจันทร์ว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดที่มาจากเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากสินค้าจีน โดยเขาอ้างว่ามาตรการนี้เป็นการตอบโต้การค้ายาผิดกฎหมายและการปล่อยให้ผู้อพยพเข้าสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย และเขายังระบุอีกด้วยว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ดำเนินมาตรการอย่างเข้มแข็งมากพอในการสกัดกั้นยาผิดกฎหมายที่เข้าสู่สหรัฐโดยผ่านทางเม็กซิโก โดยนายทรัมป์ระบุว่า "จนกว่าเรื่องนี้จะสิ้นสุดลง เราก็จะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากจีน โดยไม่รวมกับภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอื่น ๆ โดยจะเก็บจากสินค้าหลายอย่างของจีนที่เข้าสู่สหรัฐอเมริกา" ทั้งนี้ ประกาศของนายทรัมป์ส่งผลให้ดอลลาร์แคนาดา, เปโซเม็กซิโก และหยวนของจีนร่วงลง แต่ประกาศดังกล่าวช่วยหนุนเยนในฐานะสกุลเงินปลอดภัย โดยดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกพุ่งขึ้น 1.71% สู่ 20.626 เปโซในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นกว่า 2.5% ในระหว่างวัน จนแตะระดับ 20.835 เปโซได้ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยสามารถทำลายจุดสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ที่ 20.8038 เปโซในวันที่ 6 พ.ย. ทางด้านคลอเดีย ไชน์บอม ประธานาธิบดีเม็กซิโกประกาศเตือนในวันอังคารเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เม็กซิโกและสหรัฐจะได้รับจากภาษีนำเข้า และเธอส่งสัญญาณว่าเม็กซิโกอาจจะดำเนินมาตรการตอบโต้สหรัฐ
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.90 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยขยับขึ้นจาก 106.86 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 153.10 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 154.21 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0486 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยขยับลงจาก 1.0494 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0333 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022
ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้น 0.49% สู่ 1.4055 ดอลลาร์แคนาดาในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากพุ่งขึ้นกว่า 1.5% จนแตะระดับ 1.4178 ดอลลาร์แคนาดาในระหว่างช่วงการซื้อขายวันอังคาร ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 หรือจุดสูงสุดรอบ 4 ปีครึ่ง ทางด้านดอลลาร์สหรัฐ/หยวนแข็งค่าขึ้น 0.16% สู่ 7.2563 หยวนในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากทะยานขึ้นแตะ 7.2726 หยวนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. ทั้งนี้ เจน โฟลีย์ หัวหน้าฝ่ายแผนยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารราโบแบงก์กล่าวว่า "ดิฉันคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้คือตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้นในยุคของทรัมป์ เพราะว่านายทรัมป์สามารถแสดงความคิดเห็นแบบนี้ได้นอกเวลาทำการของตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นความคิดเห็นที่จะสร้างความประหลาดใจต่อคนหลายคน และส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากพยายายามปรับตัวรับความเห็นดังกล่าว"
นายฮวน เปเรซ ผู้อำนวยการฝ่ายเทรดดิงของบริษัทโมเน็กซ์ ยูเอสเอระบุว่า ข่าวเรื่องภาษีศุลกากรของนายทรัมป์ช่วยหนุนเยนในฐานะสกุลเงินปลอดภัย และเขากล่าวเสริมว่า "ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายใด ๆ ก็ตามในจีนอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลดีต่อญี่ปุ่นเสมอไป แต่ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งผู้นำของเอเชียได้อีกครั้ง" ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูผลการประเมินครั้งที่สองสำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาสสามของสหรัฐ ซึ่งจะได้รับการรายงานออกมาในวันพุธนี้ และรอดูดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนต.ค.ที่รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในวันพุธนี้ด้วย โดยธนาคารกลางสหรัฐมักใช้ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อ และนักลงทุนก็คาดว่าดัชนี PCE อาจปรับขึ้น 0.2% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 2.3% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยรายงานตัวเลขดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการประชุมกำหนดนโยบายของเฟดในวันที่ 17-18 ธ.ค.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมกำหนดนโยบายประจำวันที่ 6-7 พ.ย.ในวันอังคาร โดยเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ 4.50%-4.75% ในการประชุมครั้งนั้น โดยรายงานการประชุมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายหลายคนมีความเห็นตรงกันว่า สิ่งที่เหมาะสมคือการปรับลดความเข้มงวดทางนโยบายลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ รายงานการประชุมระบุว่า "ผู้เข้าร่วมการประชุมตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจกำหนดนโยบายการเงินไม่ได้มีการกำหนดแนวทางไว้ล่วงหน้า และการตัดสินใจดังกล่าวขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และผลกระทบที่จะมีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ...ผู้เข้าร่วมการประชุมย้ำว่า สิ่งที่สำคัญสำหรับคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ก็คือการสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ เมื่อ FOMC ปรับจุดยืนของนโยบาย"--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--22 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 13 เดือนในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนพิจารณาตัวเลขการจ้างงานและถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐร่วงลง 6,000 ราย สู่ 213,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 7 เดือน และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 220,000 ราย โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า การจ้างงานดีดขึ้นหลังจากที่เคยได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนและจากการผละงานประท้วงในเดือนต.ค. อย่างไรก็ดี รายงานฉบับนี้บ่งชี้ว่า ผู้ว่างงานอาจจะใช้เวลานานยิ่งขึ้นในการหางานทำใหม่ เพราะว่าตัวเลขคนว่างงานทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 3 ปี และปัจจัยนี้อาจจะช่วยสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนธ.ค. โดยกระทรวงแรงงานระบุว่า ยอดผู้ได้รับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องพุ่งขึ้น 36,000 ราย สู่ 1.908 ล้านรายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 พ.ย.
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 107.06 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 106.61 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 107.15 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 2023 หรือจุดสูงสุดรอบ 13 เดือน
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 154.51 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 155.43 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0473 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจาก 1.0543 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0461 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 13 เดือน
บิทคอยน์พุ่งขึ้น 3.83% สู่ 98,081 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 99,057 ดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยบิทคอยน์ทะยานขึ้นมาแล้วกว่า 40% นับตั้งแต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า นายทรัมป์จะผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับสกุลเงินคริปโต นอกจากนี้ ยังมีข่าว่า นายแกรี เจนส์เลอร์ ซึ่งเป็นผู้ที่เคยท้าทายอุตสาหกรรมสกุลเงินคริปโต จะลงจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ในวันที่ 20 ม.ค.ปีหน้าด้วย
นายฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปกล่าวว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ถ้าหากการค้าโลกมีการแบ่งขั้วกันมากยิ่งขึ้น โดยการแบ่งขั้วดังกล่าวจะส่งผลกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในทันที และผลกระทบดังกล่าวจะจางหายไปก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไปแล้วหลายปี ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 57.6% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากระดับ 72.2% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน และนักลงทุนคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 42.4% ที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50-4.75% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนก็คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเพียง 0.70% ตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2025
นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์คกล่าวว่า เขาคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง และอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงต่อไป ส่วนนายทอม บาร์คิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์กล่าวว่า สหรัฐมีความอ่อนไหวต่อเหตุร้ายแรงด้านเงินเฟ้อมากกว่าในอดีต ทางด้านนายออสตัน กูลส์บี ประธานเฟดสาขาชิคาโกกล่าวย้ำว่า เขาสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป และเขาเปิดโอกาสสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างเชื่องช้ากว่าเดิม--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน