ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ลอนดอน--29 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดการเงินทั่วโลกในเดือนพ.ย.ได้รับผลกระทบจาก Trump trades หรือการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า สินทรัพย์ใดบ้างที่อาจจะได้รับผลกระทบในทางบวกหรือลบจากนโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดยตลาดแรกที่ได้รับผลกระทบคือตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ โดยยูโรดิ่งลงมาแล้ว 2.88% จาก 1.0883 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.0570 ดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 1.0333 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022 หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 ปี โดยยูโรอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2022 ในขณะที่ยูโรได้รับแรงกดดันจากความเสี่ยงด้านภาษีศุลกากรของสหรัฐ, จากปัญหาทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี และจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในยูโรโซน ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่า ตลาดปริวรรตเงินตราที่มีขนาด 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวันจะแกว่งตัวผันผวนต่อไป ในขณะที่นักลงทุนไม่แน่ใจว่า ยูโรจะดิ่งลงจนถึงระดับใด และไม่แน่ใจว่ามาตรการของนายทรัมป์จะช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ สกุลเงินอื่น ๆ แกว่งตัวผันผวนด้วยเช่นกันในเดือนพ.ย. โดยเปโซของเม็กซิโกดิ่งลง 2.09% จาก 20.012 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 20.430 เปโซต่อดอลลาร์ในวันนี้ ส่วนปอนด์รูดลง 1.48% จาก 1.2899 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.2708 ดอลลาร์ในวันนี้ ทางด้านหยวนในตลาดต่างประเทศดิ่งลง 1.63% จาก 7.1211 หยวนต่อดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 7.2370 หยวนต่อดอลลาร์ในวันนี้ โดยหยวนอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2023
ตลาดที่สองที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากนายทรัมป์ในเดือนพ.ย.คือตลาดบิทคอยน์ โดยบิทคอยน์พุ่งขึ้น 38% จาก 69,927 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 96,380 ดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 99,830 ดอลลาร์ในวันที่ 22 พ.ย. โดยบิทคอยน์ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า นายทรัมป์จะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสกุลเงินคริปโต ทั้งนี้ นักวิเคราะห์บางรายมองว่า ถ้าหากบิทคอยน์สามารถพุ่งขึ้นแตะระดับ 100,000 ดอลลาร์ได้ในอนาคต สิ่งนี้ก็จะบ่งชี้ว่าบิทคอยน์ได้กลายเป็นการลงทุนกระแสหลักแล้ว โดยนายแดน โคทส์เวิร์ธ นักวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทเอเจ เบลล์ระบุว่า "ถ้าหากบิทคอยน์ทะยานขึ้นเหนือระดับ 100,000 ดอลลาร์ ก็จะมีนักลงทุนจำนวนมากยิ่งขึ้นที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในบิทคอยน์" อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์รายอื่น ๆ มองว่า มีความเสี่ยงจากการเก็งกำไรมากเกินไป ซึ่งนั่นหมายความว่า เป็นเรื่องง่ายที่บิทคอยน์อาจจะดิ่งลงอย่างรุนแรงหลังจากพุ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดที่ 3 ที่ได้รับผลกระทบ คือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐ โดยดัชนี Nasdaq 100 ที่ครอบคลุมหุ้นหลายตัวในกลุ่มนี้พุ่งขึ้นสูงมากในเดือนพ.ย. ในขณะที่หุ้นบริษัทเทสลาของนายอีลอน มัสก์ ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนนายทรัมป์พุ่งขึ้น 33% และหุ้นบริษัทเอ็นวิเดียที่เป็นผู้ผลิตชิปทะยานขึ้น 1.94% สู่ 135.34 ดอลลาร์ในเดือนพ.ย. ถึงแม้เอ็นวิเดียคาดการณ์ว่ายอดขายจะชะลอการเติบโต อย่างไรก็ดี ภาคเทคโนโลยีกำลังเผชิญกับความเสี่ยง เพราะว่าแผนภาษีศุลกากรของนายทรัมป์เป็นภัยคุกคามต่อห่วงโซ่อุปทาน และนักลงทุนก็กังวลกับการที่บริษัทศูนย์ข้อมูลขนาดยักษ์ อย่างเช่นไมโครซอฟท์, เมตา แพลตฟอร์มส์ และอะเมซอน ลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเงินจำนวนมากด้วย ซึ่งอาจจะนำไปสู่การลงทุนที่มากเกินไป ทั้งนี้ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศเตือนในสัปดาห์ที่แล้วว่า ตลาดทั่วโลกจะได้รับผลกระทบในทางลบ ถ้าหากเกิดภาวะฟองสบู่แตกใน AI และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงอย่างรุนแรง
ตลาดที่ 4 ที่ได้รับผลกระทบคือหุ้นกลุ่มธนาคาร ในขณะที่นักลงทุนชื่นชอบหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐ แต่เทขายหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรป โดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐพุ่งขึ้น 13% ในเดือนพ.ย. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 1 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า นายทรัมป์จะผ่อนคลายกฎระเบียบ อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปดิ่งลง 5% ในเดือนพ.ย. โดยได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในยุโรป และความอ่อนแอดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปยังคงพุ่งขึ้นมาแล้ว 16% จากช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ยังคงขายสุทธิหุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรป ส่วนธนาคารดอยช์ แบงก์ระบุว่า ภาคธนาคารจำเป็นจะต้องปรับเพิ่มกิจกรรมที่คิดค่าธรรมเนียม ซึ่งรวมถึงการบริหารสินทรัพย์, การบริหารความมั่งคั่ง, การทำข้อตกลงทางธุรกิจ และวาณิชธนกิจ
ตลาดที่ 5 ที่ได้รับผลกระทบคือตลาดพันธบัตรรัฐบาล โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีขยับลงเล็กน้อยในเดือนพ.ย. โดยปรับลงจาก 4.284% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 4.242% ในช่วงท้ายวันพุธ แต่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นมาแล้ว 0.60% นับตั้งแต่กลางเดือนก.ย. โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ, จากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และจากการคาดการณ์ที่ว่าจะมีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ ทางด้านบริษัทแคปิตัล อิโคโนมิคส์คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นสู่ 4.5% ก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงมาแล้ว 0.266% ในเดือนพ.ย. โดยดิ่งลงจาก 2.392% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 2.126% ในช่วงท้ายวานนี้ ซึ่งถือเป็นการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2024 โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีได้รับแรงกดดันจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ, จากแผนการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์ และจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้น 0.115% ในเดือนพ.ย. โดยพุ่งขึ้นจาก 0.935% ในช่วงสิ้นเดือนต.ค. สู่ 1.050% ในวันนี้ ในขณะที่การดิ่งลงของเยนในช่วงหลังการเลือกตั้งสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในวันนี้ โดยรูเปียห์ขยับขึ้น 0.1% หลังจากผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีปราโบโว สุเบียนโตของอินโดนีเซียดูเหมือนว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคที่สำคัญๆ ยกเว้นจาการ์ตา
บาทแข็งค่า 0.4% ขณะที่ริงกิตแข็งค่า 0.2% แต่ริงกิตและบาทอ่อนค่าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดจากเม็กซิโก และแคนาดาในทันทีที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งในเดือนม.ค. และจะเก็บภาษีนำเข้าอีก 10% จากสินค้าจีน
นายเคน เฉิง หัวหน้านักกลยุทธ์อัตราแลกเปลี่ยนเอเชียจากมิซูโฮ แบงก์กล่าวว่า แนวโน้มการเกิดสงคราม "บ่งชี้ถึงอุปสรรคมากขึ้นต่อสกุลเงินเอเชียในปีหน้า ขณะที่เรามองว่าจะมีความผันผวนสองทางมากขึ้นกับเงินเอเชีย ขณะที่การขึ้นภาษีนำเข้าแท้จริงอาจจะต่ำกว่าคาด เมื่อพิจารณาดูจากความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้นในสหรัฐ"
นักลงทุนกำลังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงข้อมูลเงินเฟ้อจากอินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และไทย รวมทั้งการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอินเดีย
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 11.14 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | +1.03 | -5.95 |
China | CNY=CFXS | +0.18 | -1.86 |
India | INR=IN | -0.00 | -1.52 |
Indonesia | IDR= | +0.06 | -2.90 |
Malaysia | MYR= | +0.16 | +3.45 |
Philippines | PHP= | +0.20 | -5.42 |
S.Korea | KRW=KFTC | -0.06 | -7.69 |
Singapore | SGD= | +0.22 | -1.49 |
Taiwan | TWD=TP | -0.01 | -5.50 |
Thailand | THB=TH | +0.41 | -0.25 |
Eikon source text
หยวนปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ โดยหยวนจะปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน ซึ่งสะท้อนความสำเร็จของจีนในการชะลอการร่วงลงของหยวนท่ามกลางการขู่เก็บภาษีนำเข้าจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ
อย่างไรก็ดี หยวนยังคงร่วงลง 1.6% ในเดือนนี้ ซึ่งจะเป็นการร่วงลงเมื่อเทียบรายเดือนมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีครึ่ง และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อาจจะยังคงมีความผันผวนสูง ขณะที่สงครามการค้าจีน-สหรัฐส่อเค้าว่าจะเกิดขึ้นภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของนายทรัมป์
ก่อนตลาดเปิดทำการ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางหยวนที่ 7.1877 ต่อดอลลาร์
หยวนในตลาดสปอตอยู่ที่ 7.2333 ต่อดอลลาร์ในช่วงเปิดตลาด และปิดเที่ยงวันบวก 0.15% จากระดับปิดครั้งก่อน โดยดีดตัวขึ้น 0.3% จากระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ทำไว้เมื่อวานนี้--จบ--
Eikon source text
โตเกียว--29 พ.ย.--รอยเตอร์
เยนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 6 สัปดาห์ในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นดัชนีที่ไม่รวมราคาอาหารสด พุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนพ.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในตลาดที่ +2.1% และเร่งตัวขึ้นจาก +1.8% ในเดือนต.ค. โดยรายงานนี้แสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของกรุงโตเกียวอยู่สูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ตั้งไว้ที่ 2% และบ่งชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อขยายวงกว้างยิ่งขึ้น โดยปัจจัยนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 40% ที่บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. และมีโอกาส 60% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับราว 50% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน
ดอลลาร์/เยนดิ่งลง 0.81% สู่ 150.31 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 149.83 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. หรือจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 6 สัปดาห์ ส่วนยูโร/ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ 1.0567 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0333 ดอลลาร์ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2022 หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 ปี ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลง 0.16% สู่ 105.92 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากร่วงลงแตะ 105.84 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. หรือจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ และออกห่างจากจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ที่เคยทำไว้ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. ทั้งนี้ ปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.16% สู่ 1.2707 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.2712 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.21% สู่ 0.6513 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ปรับขึ้น 0.21% สู่ 0.5901 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
ยูโรปรับขึ้นในวันนี้ หลังจากอ่อนค่าลงเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากปัญหาขัดแย้งด้านงบประมาณในฝรั่งเศส และจากถ้อยแถลงแบบสายพิราบของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) โดยนายฟรองซัวส์ วิลเลอรอย เดอ กาโย ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศสกล่าวในวันพฤหัสบดีว่า อีซีบีควรจะเปิดทางเลือกสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในเดือนธ.ค. และเขากล่าวเสริมว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะร่วงลงสู่ระดับที่สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูรัฐบาลผสมของฝรั่งเศสที่อยู่ในภาวะเปราะบาง และกำลังประสบปัญหาในการผ่านงบประมาณในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมิเชล บาร์เนียร์ของฝรั่งเศสอาจจะล่มลงในสัปดาห์หน้า ถ้าหากนักการเมืองฝ่ายขวาจัดและฝ่ายซ้ายผลักดันญัตติไม่ไว้วางใจ
ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการพุ่งขึ้นกว่า 2% จากเดือนต.ค. หลังจากดัชนีดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นกว่า 3% ในเดือนต.ค. โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายต่าง ๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ จะช่วยกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงนโยบายการใช้จ่ายขนาดใหญ่, นโยบายปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า และนโยบายคุมเข้มพรมแดน อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการดิ่งลงราว 1.5% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรูดลงในช่วงนี้
เยนมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นราว 3% จากสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่เยนได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเรื่องมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของนายทรัมป์ และเยนก็ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจด้วย อย่างไรก็ดี นายโชกิ โอโมริ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบล.มิสุโฮคาดว่า บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในเดือนธ.ค. โดยเขากล่าวว่า "การบริโภคที่แท้จริงในภาคบริการ ซึ่งครองน้ำหนักมากในดัชนีราคาผู้บริโภคที่กรุงโตเกียว กำลังปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผมมองว่าปัจจัยนี้ยังไม่มากพอที่จะส่งผลให้บีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทนปรับลดลง" และเขากล่าวเสริมว่า "เราสามารถสรุปได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์ยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน และเนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมุ่งความสนใจไปยัง 'การเอาชนะภาวะเงินฝืด' และเตรียมที่จะจัดทำงบประมาณเพิ่มเติม ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.จึงยังคงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ต่ำ" นอกจากนี้ นายโอโมริยังกล่าวอีกด้วยว่า หากมองจากปัจจัยทางเทคนิคแล้ว ดอลลาร์/เยนก็อยู่ในระดับที่มี "คำสั่งขายเข้ามามากเกินไป" และดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะดีดขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 152 เยนได้ก่อนสิ้นปีนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
29 พ.ย.--รอยเตอร์
ตลาดเงินนิวยอร์คปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 28 พ.ย.เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ในขณะที่ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงการซื้อขายที่ตลาดอื่น ๆ ในวันพฤหัสบดี หลังจากที่ยูโรเพิ่งพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันพุธ โดยได้รับแรงหนุนจากการที่เทรดเดอร์ปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ทั้งนี้ สำนักงานสถิติของรัฐบาลกลางเยอรมนีรายงานในวันพฤหัสบดีว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีทรงตัวที่ 2.4% ในเดือนพ.ย. ซึ่งเท่ากับระดับ 2.4% ในเดือนต.ค. และอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 2.6% ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันศุกร์ โดยในตอนนี้นักลงทุนในตลาดเงินคาดว่า มีโอกาส 100% เต็มที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค. และมีโอกาสเพียง 13% ที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมวันที่ 12 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับลดลงจากระดับราว 50% ในวันศุกร์ที่แล้ว
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.09 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 106.07 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 105.85 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ และเทียบกับจุดสูงสุดรอบ 2 ปีที่ 108.09 ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ 22 พ.ย.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 151.54 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 151.10 เยน และเทียบกับระดับ 150.44 เยนที่ทำไว้ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบราว 5 สัปดาห์
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0553 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 1.0564 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยยูโรมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ด้วยการดิ่งลงรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง
นายคาร์สเตน เบรสกี จากบริษัท ING กล่าวว่า "ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคในยูโรโซนที่ได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี น่าจะช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สายเหยี่ยวในอีซีบีคัดค้านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในเดือนธ.ค." ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาดูรัฐบาลผสมของฝรั่งเศสที่อยู่ในภาวะเปราะบาง และกำลังประสบปัญหาในการผ่านงบประมาณในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมิเชล บาร์เนียร์ของฝรั่งเศสอาจจะล่มลงในสัปดาห์หน้า ถ้าหากนักการเมืองฝ่ายขวาจัดและฝ่ายซ้ายผลักดันญัตติไม่ไว้วางใจ
เยนพุ่งขึ้นมาแล้ว 2.1% ในสัปดาห์นี้ และอาจจะปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการพุ่งขึ้นรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 3 เดือน ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 40% ที่บีโอเจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. และมีโอกาส 60% ที่บีโอเจอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวปรับขึ้นจากระดับราว 50% ที่เคยคาดไว้เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ นายไมเคิล บราวน์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทเพพเพอร์สโตนกล่าวว่า "ผมคาดว่าดัชนีดอลลาร์จะดีดขึ้นในช่วงต่อไปในเดือนธ.ค." และเขากล่าวเสริมว่า "เศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในขณะที่ยูโรโซนประสบปัญหามากมายหลายอย่าง และก็มีความกังวลเรื่องงบประมาณฝรั่งเศสในช่วงนี้ด้วย" นอกจากนี้ เขายังระบุอีกด้วยว่า การที่ดัชนีดอลลาร์ร่วงผ่านระดับ 106 ลงไปในวันพุธดูเหมือนว่าเป็น "สิ่งที่ไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน"
รูเบิลของรัสเซียพุ่งขึ้น 4.55% สู่ 108.00 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี จาก 113.15 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากรูเบิลเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงนับตั้งแต่เดือนส.ค.เป็นต้นมา โดยรูเบิลดิ่งลงราว 33% จากระดับ 86.15 รูเบิลต่อดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนก.ค. สู่ 114.50 รูเบิลต่อดอลลาร์ในวันที่ 27 พ.ย. ทั้งนี้ รูเบิลได้รับแรงหนุนในช่วงนี้ หลังจากธนาคารกลางรัสเซียประกาศว่า ทางธนาคารกลางจะยุติการซื้อสกุลเงินต่างชาติจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อหนุนค่าเงินรูเบิล--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
28 พ.ย.--รอยเตอร์
รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน 11 ราย และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาในวันนี้ โดยผลสำรวจระบุว่า นักลงทุนได้ปรับลดการถือครองสถานะขายสุทธิในบาท/ดอลลาร์สหรัฐลงในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ย. จนส่งผลให้บาทกลายสกุลเงินเอเชียที่นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิน้อยที่สุดในตอนนี้ และนักลงทุนได้ปรับลดการถือครองสถานะขายสุทธิในเปโซของฟิลิปปินส์และวอนของเกาหลีใต้ลงในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุดด้วย อย่างไรก็ดี วอนยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินเอเชียที่นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิมากที่สุดในตอนนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนได้ปรับเพิ่มการถือครองสถานะขายสุทธิในสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุด ซึ่งรวมถึงในหยวนของจีน, ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์ของอินโดนีเซีย, ดอลลาร์ไต้หวัน, รูปีของอินเดีย และริงกิตของมาเลเซีย ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดที่มาจากเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากสินค้าจีน โดยประกาศดังกล่าวส่งผลลบต่อประเทศที่พึ่งพาการค้า โดยเฉพาะมาเลเซียและสิงคโปร์
สถานะขายสุทธิในดอลลาร์สิงคโปร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ในขณะที่สถานะขายสุทธิในรูเปียห์ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน ทั้งนี้ แผนการด้านภาษีนำเข้าของนายทรัมป์อาจจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากนัก โดยแผนการดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย ทางด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงิน ธ.กรุงไทย กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐประกาศใช้แผนการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์ภายในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยแรก
นายคริสโตเฟอร์ หว่อง นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคาร OCBC กล่าวว่า "ความไม่แน่นอนด้านนโยบายของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียเผชิญกับความผันผวน" และเขากล่าวเสริมว่า ริงกิตอาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากความเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนและอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ โดยเขาระบุอีกด้วยว่า "ในกรณีที่หยวนอ่อนค่าลงและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐปรับสูงขึ้น ริงกิตก็อาจจะได้รับแรงกดดันให้ดิ่งลงต่อไป" ทั้งนี้ สถานะขายสุทธิในริงกิตพุ่งขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุดจนแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน ในขณะที่ริงกิตมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ในแดนลบเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากคำสั่งเทขายทำกำไร หลังจากริงกิตเคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยริงกิต/ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.26% จากช่วงต้นปีนี้ และส่งผลให้ริงกิตถือเป็นสกุลเงินเอเชียเพียงสกุลเดียวที่แข็งค่าขึ้นในปีนี้
นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิในวอนมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินเอเชีย เพราะว่าวอนมีความอ่อนไหวต่อค่าเงินหยวน และเพราะว่าเกาหลีใต้มียอดเกินดุลการค้าต่อสหรัฐในระดับสูง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นายทรัมป์อาจจะดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวต่อเกาหลีใต้ในอนาคต ทั้งนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 3.00% ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2009 เป็นต้นมา ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่อยู่ในภาวะชะงักงัน และอัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้ชะลอตัวลงมากเกินคาด
นักวิเคราะห์ของบริษัท ING ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BOK ในครั้งนี้บ่งชี้ว่า BOK ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มากกว่าเสถียรภาพของตลาดการเงินในระยะสั้น และนักวิเคราะห์ระบุเสริมว่า ถ้าหาก BOK ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป วอนก็จะได้รับแรงกดดันให้ร่วงลงไปอีก โดยนักวิเคราะห์กลุ่มนี้คาดว่า วอนจะอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 และวอนจะแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้นด้วย
ผลสำรวจของรอยเตอร์ฉบับนี้มุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่นักวิเคราะห์เชื่อว่า เป็นสถานะการลงทุนในปัจจุบันในสกุลเงิน 9 สกุลในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย โดยสกุลเงิน 9 สกุลนี้ประกอบด้วยสกุลเงินบาทของไทย, หยวนของจีน, วอนของเกาหลีใต้, ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์, ดอลลาร์ไต้หวัน, รูปี, เปโซ และริงกิตของมาเลเซีย
ผลสำรวจดังกล่าวประเมินสถานะซื้อ (long position) หรือสถานะขาย
(short position) สุทธิในสกุลเงินในช่วงระดับ -3 ถึง +3 โดยคะแนน +3 บ่งชี้ว่า ตลาดมีสถานะซื้อดอลลาร์สหรัฐอย่างมาก
ข้อมูลในผลสำรวจนี้รวมสถานะสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบ (NDF) ด้วย
ผลการสำรวจ (สถานะในรูปสกุลดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินแต่ละสกุล)
มีรายละเอียดดังนี้:-
หยวน วอน *SGD รูเปียห์ **TWD รูปี ริงกิต เปโซ บาท
DATE | CNY | KRW | SGD | IDR | TWD | INR | MYR | PHP | THB |
28-Nov-24 | 1.32 | 1.45 | 1.12 | 1.03 | 1.10 | 1.13 | 0.76 | 1.13 | 0.66 |
14-Nov-24 | 1.14 | 1.61 | 0.80 | 0.81 | 1.07 | 0.87 | 0.65 | 1.18 | 0.90 |
31-Oct-24 | 0.30 | 1.06 | -0.03 | 0.59 | 0.60 | 0.82 | 0.11 | 0.81 | 0.09 |
17-Oct-24 | -0.43 | 0.26 | -0.44 | 0.04 | 0.24 | 0.67 | -0.40 | 0.26 | -0.28 |
03-Oct-24 | -1.14 | -0.79 | -1.26 | -1.08 | -0.59 | -0.04 | -1.18 | -0.70 | -1.45 |
19-Sep-24 | -0.67 | -0.90 | -1.12 | -1.18 | -0.66 | 0.33 | -1.30 | -1.10 | -1.33 |
05-Sep-24 | -0.85 | -1.09 | -1.26 | -1.05 | -0.77 | 0.21 | -1.46 | -1.00 | -1.22 |
22-Aug-24 | -0.62 | -0.93 | -1.08 | -1.26 | -0.70 | 0.21 | -1.57 | -1.03 | -1.16 |
08-Aug-24 | -0.02 | 0.05 | -0.61 | -0.02 | 0.59 | 0.60 | -0.78 | -0.29 | -0.57 |
25-Jul-24 | 1.07 | 0.79 | -0.33 | 0.35 | 0.86 | 0.12 | 0.39 | 0.43 | 0.02 |
*SGD = ดอลลาร์สิงคโปร์
**TWD = ดอลลาร์ไต้หวัน
--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
รูเปียห์แข็งค่ามากที่สุด ขณะที่สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชียปรับตัวคละเคล้ากันในวันนี้ เนื่องจากผลการเลือกตั้งท้องถิ่นคลายกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมือง และธนาคารกลางอินโดนีเซียยังคงเข้าพยุงค่าเงินรูเปียห์ โดยรูเปียห์แข็งค่าถึง 0.5%
ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีปราโบโว สุเบียนโตของอินโดนีเซียดูเหมือนว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคที่สำคัญๆ ยกเว้นจาการ์ตา ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุว่า น่าจะทำให้ง่ายขึ้นที่จะดำเนินการและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่การเคลื่อนไหวและวาระทางการเมือง
วอนอ่อนค่า 0.2% ขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีมีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันอย่างไม่คาดคิดในวันนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจหยุดชะงัก และเงินเฟ้อชะลอตัวมากกว่าที่ผู้กำหนดนโยบายคาดไว้
บาท/ดอลลาร์แข็งค่า 0.3% ขณะที่ดอลลาร์สิงคโปร์ และริงกิตอ่อนค่า 0.2% และ 0.1% ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลา 12.21 น.ตามเวลาไทย
COUNTRY | FX RIC | FX DAILY % | FX YTD % |
Japan | JPY= | -0.32 | -6.94 |
China | CNY=CFXS | +0.00 | -2.06 |
India | INR=IN | +0.00 | -1.47 |
Indonesia | IDR= | +0.44 | -2.90 |
Malaysia | MYR= | -0.05 | +3.33 |
Philippines | PHP= | +0.13 | -5.50 |
S.Korea | KRW=KFTC | -0.21 | -7.72 |
Singapore | SGD= | -0.17 | -1.74 |
Taiwan | TWD=TP | +0.00 | -5.53 |
Thailand | THB=TH | +0.27 | -0.68 |
Eikon source text
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน