ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--7 พ.ย.--รอยเตอร์
หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์นี้ นักลงทุนก็มุ่งความสนใจไปยังอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐ เพราะว่าถ้าหากดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงส่งผลกระทบต่อโรงงานสหรัฐและต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินร่วงลง 0.37% สู่ 104.73 ในวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้น 1.53% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 8 ปี โดยดัชนีดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นแตะ 105.44 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 4 เดือนด้วย โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.8% จากช่วงต้นปีนี้
นักวิเคราะห์มองว่า ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดว่า ดอลลาร์จะพุ่งขึ้นต่อไปได้อีกมากเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ว่านายทรัมป์จะดำเนินมาตรการปรับลดภาษีเงินได้และมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าตามที่ได้หาเสียงไว้หรือไม่ เพราะว่ามาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น และจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอยู่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์มีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุน อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะสร้างความเสียหายต่อบริษัทสหรัฐได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ อนาคตของดอลลาร์จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงในสหรัฐอาจจะส่งผลให้ผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่ต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงเกินไป ทางด้านนักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 99.8% ที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 0.2% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสเพียง 70% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวดิ่งลงจากระดับ 77% ที่เคยคาดไว้ในวันอังคาร และนักลงทุนคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.65% ในปี 2025
นายปาเรช อุปะติไอยา จากบริษัทอามุนดี ยูเอสกล่าวว่า นักลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตราจำเป็นจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการในตอนนี้ ซึ่งรวมถึงมาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าในสหรัฐ, ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่จะมีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในสหรัฐ, ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่จะมีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มที่ว่าเฟดจะตอบรับอย่างไรต่อปัจจัยเหล่านี้ ทั้งนี้ นายแบรด เบคเทล หัวหน้าฝ่ายตลาดปริวรรตเงินตราของบริษัทเจฟฟรีส์คาดว่า ดอลลาร์สหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นอีก 5% ถ้าหากพรรครีพับลิกันได้ครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และดอลลาร์จะทะยานขึ้นไปอีกในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า เมื่อนายทรัมป์นำนโยบายต่าง ๆ ของเขามาประกาศใช้ โดยนายทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 ม.ค.ปีหน้า
ในปี 2016 นั้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินเคยพุ่งขึ้นราว 6% ในช่วงสองเดือนแรกหลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก แต่ดอลลาร์ลดช่วงบวกลงในช่วงไม่กี่เดือนต่อมา และหลังจากนั้นดัชนีดอลลาร์ก็พุ่งขึ้นอีกราว 13% ในช่วงตั้งแต่เดือนก.พ. 2018 จนถึงเดือนก.พ. 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่นายทรัมป์ประกาศใช้มาตรการภาษีนำเข้าต่อประเทศอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงจีนและเม็กซิโก ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของดอลลาร์อาจจะถือเป็นดาบสองคมสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะว่าการพุ่งขึ้นของดอลลาร์จะช่วยจำกัดภาวะเงินเฟ้อ แต่จะสร้างความเสียหายต่อประสิทธิภาพทางการแข่งขันของสินค้าสหรัฐในต่างประเทศ และการแข็งค่าของดอลลาร์จะสร้างความเสียหายต่อผลกำไรของบริษัทข้ามชาติของสหรัฐเมื่อทางบริษัทแปลงผลกำไรจากต่างประเทศให้มาอยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ด้วย
ผลการศึกษาโดยธนาคารเจพีมอร์แกนพบว่า เมื่อค่าดอลลาร์ตามการถ่วงน้ำหนักทางการค้าพุ่งขึ้น 2% ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลลบ 1% ต่ออัตราการเติบโตของผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 ทางด้านผลการศึกษาของธนาคารดอยช์ แบงก์ระบุว่า มาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจะส่งผลลบราว 0.25% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ ทั้งนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะสร้างความเสียหายมากเป็นพิเศษต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหนี้สินจำนวนมากในรูปดอลลาร์ และปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางในประเทศเหล่านี้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยายามปกป้องสกุลเงินของตนเอง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
7 พ.ย.--รอยเตอร์
นักวิเคราะห์ได้ระบุถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ หลังจากเขาชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ในส่วนของตลาดปริวรรตเงินตรานั้น นโยบายของนายทรัมป์จะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น เพราะว่านโยบายของเขาจะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐพุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะร้อนแรงจนเกินไป และการที่เฟดทำเช่นนั้นจะส่งผลบวกต่อค่าดอลลาร์ และนักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า มาตรการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์, นโยบายของเขาในการกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปต้องปรับเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ และการที่นายทรัมป์ไม่เชื่อมั่นในสถาบันแบบพหุภาคี ล้วนเป็นปัจจัยที่จะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น ทางด้านนักวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ปคาดว่า ดอลลาร์สหรัฐจะพุ่งขึ้น 3% หลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ยูโรอาจจะดิ่งลงอย่างรุนแรงสู่ระดับต่ำกว่า 1.0000 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าหากนายทรัมป์ดำเนินมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าและมาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ภายในสหรัฐ และนักวิเคราะห์คาดการณ์กันอีกด้วยว่า สกุลเงินหยวนของจีนอาจจะดิ่งลงต่อไป เหมือนกับที่เคยดิ่งลงมาแล้วในปี 2018-2020 ท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ
อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นของดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลให้นักลงทุนกลับมาทำ carry trades หรือการกู้ยืมสกุลเงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปใช้ซื้อสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยปัจจัยนี้มีส่วนกดดันให้นักลงทุนเทขายเยนและฟรังก์สวิสออกมาอย่างหนักหน่วงในช่วงก่อนการเลือกตั้งด้วย อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ระบุว่า ฟรังก์สวิสจะได้รับแรงหนุน เพราะว่าสวิตเซอร์แลนด์ส่งออกสินค้าราคาแพง ซึ่งจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้า และฟรังก์สวิสมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อสูงด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายกฎระเบียบด้านสกุลเงินคริปโต และปัจจัยนี้จะส่งผลบวกต่อบิทคอยน์ โดยบิทคอยน์ร่วงลง 1.51% สู่ 74,833 ดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 76,499.99 ดอลลาร์เมื่อวานนี้
มาตรการต่าง ๆ ของนายทรัมป์จะส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตรด้วยเช่นกัน โดยมีการประเมินกันว่า แผนใช้จ่ายของนายทรัมป์อาจจะส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นอีก 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ในขณะที่นักลงทุนกังวลกันว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐและขนาดหนี้สินของรัฐบาลสหรัฐจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืม หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีเพิ่งพุ่งขึ้นเกือบ 0.50% ในเดือนต.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่านายทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้ง นอกจากนี้ นโยบายของนายทรัมป์ก็จะส่งผลให้เฟดมีโอกาสน้อยลงในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และปัจจัยนี้ก็จะมีส่วนช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ มาตรการของนายทรัมป์จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อยุโรปและเอเชีย และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลลบต่อสกุลเงินยูโร, เยน, ฟรังก์สวิส และสกุลเงินอื่น ๆ โดยการอ่อนค่าของสกุลเงินเหล่านี้ และการที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นในประเทศเหล่านี้ จะส่งผลให้ธนาคารกลางในหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้เพียงในวงจำกัดเท่านั้น และนักวิเคราะห์ก็คาดว่า ปัจจัยนี้จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกปรับสูงขึ้น
ในส่วนของประเทศตลาดเกิดใหม่นั้น นายทรัมป์เคยกล่าวว่าเขาจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 200% จากยานพาหนะที่นำเข้าจากเม็กซิโก และนักวิเคราะห์ก็คาดว่าสกุลเงินเปโซของเม็กซิโกอาจจะดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 21 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐได้ในอนาคต ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยเปโซเม็กซิโกอยู่ที่ 20.1340 เปโซต่อดอลลาร์ในวันนี้ หลังจากเพิ่งดิ่งลงแตะ 20.8038 เปโซต่อดอลลาร์เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2022 นอกจากนี้ ก็มีการคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาอาจจะได้รับความเสียหายด้วย เพราะว่านายเจดี แวนซ์ ว่าที่รองประธานาธิบดีสหรัฐเสนอนโยบายให้มีการเก็บภาษี 10% จากเงินที่แรงงานต่างชาติในสหรัฐโอนส่งไปยังประเทศของตนเอง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า ถ้าหากนายทรัมป์ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า สิ่งนี้ก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อสกุลเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้, สกุลเงินเรียลของบราซิล และตลาดหุ้นของแอฟริกาใต้กับบราซิล และจะสร้างความเสียหายต่อบริษัทผู้ผลิตชิปในไต้หวัน, เกาหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ ด้วย ถ้าหากบริษัทดังกล่าวผลิตชิปให้แก่บริษัทเทคโนโลยีของจีน
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลให้มีเงินลงทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย และจะส่งผลให้หลายประเทศคุมเข้มนโยบายการเงิน แต่ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่เศรษฐกิจได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยภายในประเทศ อย่างเช่น อินเดียและแอฟริกาใต้ อาจจะกลายเป็นแหล่งลงทุนที่มีความปลอดภัยท่ามกลางภาวะผันผวนในตลาดโลก ส่วนชิลีซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตทองแดงและลิเทียมอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะว่าสินค้าส่งออกของชิลีเป็นสินค้าที่ทดแทนได้ยาก ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐนั้น นักวิเคราะห์คาดว่า หุ้นกลุ่มธนาคาร, กลุ่มเทคโนโลยี, กลุ่มอาวุธ และกลุ่มเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายของนายทรัมป์ โดยธนาคารโกลด์แมน แซคส์คาดว่า แผนการของนายทรัมป์ในการปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงสู่
15% จาก 21% จะส่งผลให้ผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 เพิ่มสูงขึ้นอีกราว 4% อย่างไรก็ดี ในส่วนของตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ นั้น หุ้นกลุ่มปลอดภัยอาจจะเป็นกลุ่มที่รักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ดีกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ โดยเป็นผลจากการแข็งค่าของดอลลาร์, อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในสหรัฐ และความขัดแย้งทางการค้า--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
หยวนฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ ขณะที่ข้อมูลส่งออกที่น่าพอใจ และแรงหนุนจากธนาคารของรัฐช่วยหักล้างความวิตกเกี่ยวกับภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
ยอดส่งออกของจีนพุ่งขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือนต.ค. ขณะที่ผู้ผลิตรีบระบายสต็อกสินค้าไปยังตลาดส่งออกสำคัญๆเนื่องจากคาดว่าจะมีการเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากสหรัฐ และสหภาพยุโรป โดยมีสัญญาณว่าจะเกิดสงครามการค้าในวงกว้างขึ้น
ก่อนตลาดเปิดทำการ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางหยวนที่ 7.1659 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.2023 และสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ 7.1679 ต่อดอลลาร์อยู่ 0.0020 หยวน
หยวนในตลาดสปอตปิดเที่ยงวันเพิ่มขึ้น 0.09% มาที่ 7.1730 ต่อดอลลาร์ โดยดีดตัวขึ้นจากที่อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดที่ 7.1950 ต่อดอลลาร์ในช่วงแรก ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.
แหล่งข่าวกล่าวว่า ธนาคารของรัฐบาลจีนขายดอลลาร์เพื่อป้องกันไม่ให้หยวนอ่อนค่าเร็วเกินไปเมื่อวานนี้และในวันนี้--จบ--
Eikon source text
ลอนดอน--7 พ.ย.--รอยเตอร์
หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ นักลงทุนก็คาดว่า เขาอาจจะประกาศปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ และปัจจัยดังกล่าวก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นยุโรป และอาจจะส่งผลให้ยูโรดิ่งลงไปอีกด้วย อย่างไรก็ดี ตลาดพันธบัตรยุโรปได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์นี้ เพราะนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อรับมือกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็จะส่งผลบวกต่อราคาพันธบัตร ทั้งนี้ เศรษฐกิจยุโรปเคยเผชิญกับปัจจัยลบหลายประการในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงวิกฤติโรคระบาด, สงครามยูเครน และความขัดแย้งทางการค้า และเศรษฐกิจยุโรปก็เผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนีในช่วงนี้ด้วย หลังจากนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ของเยอรมนีสั่งปลดนายคริสเตียน ลินด์เนอร์จากพรรคฟรี เดโมแครต (FDP) ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังในวันพุธ โดยเป็นผลจากความขัดแย้งเรื่องทิศทางทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเยอรมนี โดยการสั่งปลดในครั้งนี้จะส่งผลให้รัฐบาลเยอรมนีกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่ประกอบด้วยพรรคโซเชียล เดโมแครตของนายโชลซ์ และพรรคกรีนส์ ซึ่งเป็นพรรคที่ครองที่นั่งมากเป็นอันดับสอง นอกจากนี้ นายโชลซ์ยังวางแผนที่จะจัดการโหวตไว้วางใจในรัฐบาลของเขาในวันที่ 15 ม.ค.ปีหน้า และการโหวตดังกล่าวอาจจะส่งผลให้เยอรมนีต้องจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดก่อนสิ้นเดือนมี.ค.ปีหน้า
นายทรัมป์เคยประกาศว่าจะเก็บภาษี 10% จากสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ซึ่งถ้าหากเขาทำเช่นนั้นจริง สิ่งนี้ก็จะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อสหภาพยุโรป (อียู) ในขณะที่อียูถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดให้แก่สหรัฐ นอกจากนี้ อียูก็จะได้รับความเสียหายผ่านทางความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับจีนด้วย เพราะว่านายทรัมป์เคยประกาศว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 60% จากสินค้าจีน ทั้งนี้ เทรดเดอร์คาดการณ์ในตอนนี้ว่า อีซีบีมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกัน 1.30% ตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2025 โดยปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เคยคาดไว้ในวันอังคารว่า อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันเพียง 1.20% โดยการปรับเพิ่มการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบีนี้ส่งผลให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีประเภทอายุ 2 ปีพุ่งสูงขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีอายุ 2 ปีดิ่งลงอย่างรุนแรงจากระดับ 2.333% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 2.185% ในช่วงท้ายวันพุธ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 2.431% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 2.393% ในช่วงท้ายวันพุธ ทางด้านดัชนีตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลง 0.54% เมื่อวานนี้
นายนิค เฮย์ส จากบริษัทแอกซา อินเวสท์เมนท์ แมเนเจอร์สระบุว่า เขาชื่นชอบพันธบัตรยุโรป และเขากล่าวเสริมว่า "นักลงทุนในตลาดพันธบัตรยุโรปคาดว่า ชัยชนะของนายทรัมป์จะส่งผลให้เศรษฐกิจยุโรปชะลอการเติบโตลง และสิ่งนี้สามารถชดเชยได้ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี แต่เศรษฐกิจยุโรปจะไม่ดิ่งลงอย่างรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะถดถอย" ทั้งนี้ ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0728 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยดิ่งลง 1.85% จาก 1.0930 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร หลังจากรูดลงแตะ 1.0681 ดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. โดยการดิ่งลงของยูโรในวันพุธถือเป็นการดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020
ธนาคารเจพีมอร์แกน, บริษัท ING และธนาคารเอบีเอ็น แอมโรระบุว่า ยูโรมีโอกาสที่จะดิ่งลงแตะระดับ 1.0000 ดอลลาร์ได้เมื่อนายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเรื่องนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงขนาดอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐ และขนาดมาตรการปรับลดภาษีเงินได้ของสหรัฐ เพราะว่ามาตรการปรับลดภาษีเงินได้จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งสูงขึ้น และปัจจัยดังกล่าวจะเป็นการจำกัดความสามารถของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ธนาคารโกลด์แมน แซคส์ระบุในวันพุธว่า โกลด์แมน แซคส์คาดว่าสหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้ายุโรปไม่มากนัก โดยมาตรการดังกล่าวของสหรัฐจะส่งผลลบเพียง 0.5% ต่อเศรษฐกิจยูโรโซน ทางด้านธนาคารดอยช์ แบงก์คาดว่า ยูโรจะร่วงลงสู่ 1.05 ดอลลาร์ก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งถือว่ายังคงอยู่ห่างจากระดับ 1.0000 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในช่วงที่เกิดวิกฤติพลังงานปี 2022 นอกจากนี้ นายอรุณ ไซ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทพิคเทท แอสเซท แมเนจเมนท์ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนจะเข้าสู่เสถียรภาพ แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะชะลอตัวลง โดยบริษัทของเขาได้ปรับลดการถือครองสถานะขายในยูโรลงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และเขาคาดว่านายทรัมป์จะไม่ประกาศปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าทั้งหมดในทันที
นายเฟเดอริโก เซซารินี หัวหน้าฝ่ายสกุลเงินประเทศพัฒนาแล้วในสถาบันการลงทุนอามุนดีระบุว่า ยูโรจะดิ่งลงแตะ 1.0000 ดอลลาร์ได้ก็ต่อเมื่อเทรดเดอร์ไม่คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกต่อไป อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์ยังคงคาดการณ์ในตอนนี้ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกัน 1.06% นับตั้งแต่ช่วงนี้จนถึงสิ้นปี 2025 ทั้งนี้ ชัยชนะของนายทรัมป์ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มอาวุธและหุ้นกลุ่มการบินของยุโรป โดยดัชนีหุ้นสองกลุ่มนี้พุ่งขึ้น 2% ในวันพุธ ในขณะที่นักลงทุนคาดว่า ยุโรปจำเป็นจะต้องปรับเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มพลังงานทดแทนได้ดิ่งลงอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหุ้นบริษัทออร์สเต็ดของเดนมาร์กที่รูดลง 12.79% ในวันพุธ เพราะบริษัทกลุ่มนี้อาจได้รับความเสียหายจากนโยบายด้านพลังงานของนายทรัมป์ ทางด้านหุ้นกลุ่มรถยนต์ของยุโรปรูดลงด้วยเช่นกัน โดยเป็นผลจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า โดยหุ้นบริษัทปอร์เช่, BMW และโฟล์คสวาเกนของเยอรมนีดิ่งลง 5.4%-7.7% ในวันพุธ--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
โตเกียว--7 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสูงสุดรอบ 4 เดือนในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย ในขณะที่นักลงทุนยังคงปรับตัวรับชัยชนะของนายโดนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ และนักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางหลายแห่งในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 99.8% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 0.2% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสเพียง 70% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวดิ่งลงจากระดับ 77% ที่เคยคาดไว้ในวันอังคาร และนักลงทุนคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.61% ในปี 2025
ดอลลาร์/เยนอ่อนค่าลง 0.16% สู่ 154.39 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 154.70 เยนในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. ส่วนยูโร/ดอลลาร์ทรงตัวที่ 1.0728 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 1.0681 ดอลลาร์ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลง 0.03% สู่ 105.08 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 105.44 ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. ทั้งนี้ ปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.17% สู่ 1.2904 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.2835 ดอลลาร์ในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้น 0.37% สู่ 0.6594 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรูดลงแตะ 0.6513 ดอลลาร์สหรัฐในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. หรือจุดต่ำสุดรอบ 3 เดือน ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ทะยานขึ้น 0.35% สู่ 0.5960 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 0.5912 ดอลลาร์สหรัฐในวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.
ชัยชนะของนายทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทำให้นักลงทุนตั้งข้อสงสัยว่า เฟดจะดำเนินวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเชื่องช้าลงหรือไม่ และขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวัฏจักรนี้จะลดลงด้วยหรือไม่ โดยนายแมทท์ ซิมป์สัน นักวิเคราะห์ตลาดของบริษัทซิตี้ อินเด็กซ์ระบุว่า การที่ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นในวันพุธ และการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐทะยานขึ้นในวันพุธ ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากนักในอนาคต เพราะว่านโยบายต่าง ๆ ของนายทรัมป์ ซึ่งรวมถึงนโยบายจำกัดผู้อพยพเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย, นโยบายเก็บภาษีนำเข้า, นโยบายปรับลดภาษีเงินได้ และนโยบายปรับลดกฎระเบียบ มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐ และปัจจัยดังกล่าวจะเป็นการจำกัดความสามารถของเฟดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า ถ้าหากพรรครีพับลิกันได้ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐด้วยเช่นกัน พรรครีพับลิกันก็จะสามารถปรับแก้กฎหมายครั้งใหญ่ได้ ซึ่งจะส่งผลให้สกุลเงินแกว่งตัวอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นจาก 4.291% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 4.426% ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากทะยานขึ้นแตะ 4.479% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 4 เดือน ส่วนบิทคอยน์ร่วงลง 0.80% สู่ 75,374 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากเพิ่งพุ่งขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ที่ 76,499.99 ดอลลาร์เมื่อวานนี้
นายซิมป์สันกล่าวว่า ถ้าหากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณแบบสายพิราบพร้อมกับปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันพฤหัสบดี เทรดเดอร์ก็อาจจะปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนธ.ค. และดอลลาร์สหรัฐกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) ก็จะยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่สองของวัฏจักรนี้ในช่วงต่อไปในวันนี้ แต่นักลงทุนจะจับตาดูสัญญาณบ่งชี้ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปในอนาคต หลังจากรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษเพิ่งประกาศงบประมาณที่กระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสัปดาห์ที่แล้ว โดยนักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 17% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.50% ในวันนี้ และคาดว่ามีโอกาส 83% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในวันนี้
นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสวีเดนมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% สู่ 2.75% ในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสวีเดนที่อ่อนแอ และเพื่อสกัดกั้นไม่ให้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางนอร์เวย์จะตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.50% ต่อไปในการประชุมวันนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 หรือจุดสูงสุดรอบ 16 ปี ในขณะที่ธนาคารกลางนอร์เวย์รับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่สูงกว่าระดับเป้าหมาย และรับมือกับการอ่อนค่าของสกุลเงินโครนนอร์เวย์ โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของนอร์เวย์อยู่ที่ 3.1% ในเดือนก.ย. ซึ่งยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายที่ 2.0% เป็นอย่างมาก ในขณะที่โครนนอร์เวย์ดิ่งลงมาแล้ว 9% จากช่วงต้นปีนี้ สู่ 11.046 โครนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
หยวนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ โดยอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ทำไว้เมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุนรีบทำกำไรออกมา ท่ามกลางความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
ตลาดกำลังรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสัปดาห์นี้ด้วย
ก่อนตลาดเปิดทำการ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางหยวนที่ 7.1016 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. และสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ 7.1019 ต่อดอลลาร์อยู่ 0.0003 หยวน
หยวนในตลาดสปอตปิดเที่ยงวันลดลง 0.06% ที่ 7.1052 ต่อดอลลาร์ หลังจากที่แข็งค่าแตะระดับสูงสุดที่ 7.0858 ต่อดอลลาร์เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค.--จบ--
Eikon source text
โตเกียว--5 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย ในขณะที่เทรดเดอร์ปรับสถานะการลงทุนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันนี้ หลังจากผลสำรวจความเห็นประชาชนชาวสหรัฐที่ออกมาในช่วงนี้ส่งผลให้นักลงทุนระบาย Trump trades หรือการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐออกมา โดยโพลล์โดยรวมแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์จากพรรครีพับลิกันและกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครตได้คะแนนนิยมสูสีกันมาก นอกจากนี้ เว็บไซต์การพนัน PredictIt ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แฮร์ริสมีโอกาสสูงกว่านายทรัมป์เล็กน้อยในการชนะการเลือกตั้ง แต่เว็บไซต์ Polymarket ยังคงแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์มีโอกาสสูงกว่าในการชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวเคยได้รับแรงหนุนในช่วงก่อนหน้านี้จากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้าและนโยบายด้านผู้อพยพของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ และนักลงทุนมองว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้ากับความไม่แน่นอนในสหรัฐก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ ด้วย
ดอลลาร์/เยนแข็งค่าขึ้น 0.14% สู่ 152.34 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากร่วงลงแตะ 151.54 เยนเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดรอบหนึ่งสัปดาห์ ส่วนยูโร/ดอลลาร์ขยับขึ้น 0.01% สู่ 1.0878 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.09145 ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับลง 0.03% สู่ 103.90 ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 103.67 เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค. และออกห่างจากจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ 104.63 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 29 ต.ค. ทั้งนี้ ปอนด์ขยับขึ้น 0.01% สู่ 1.2959 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้น 0.03% สู่ 0.6588 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับลง 0.01% สู่ 0.5973 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
แคโรล คอง นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคารคอมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย (CBA) ระบุว่า "เรามองว่านักลงทุนในตอนนี้กำลังปรับสถานะการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า แฮร์ริสจะชนะการเลือกตั้ง" และเธอกล่าวเสริมว่า "ดอลลาร์สหรัฐอาจจะดิ่งลง 1%-2% ในสัปดาห์นี้ ถ้าหากรองประธานาธิบดีแฮร์ริสชนะการเลือกตั้ง แต่ดอลลาร์อาจจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ถ้าหากอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าหากการประกาศผลโหวตในสหรัฐเกิดความล่าช้า หรือถ้าหากเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับผลการโหวต ปัจจัยดังกล่าวก็จะกระตุ้นให้สกุลเงินแกว่งตัวผันผวนในสัปดาห์นี้" ทางด้านนักวิเคราะห์และเทรดเดอร์คาดการณ์กันอีกด้วยว่า ถ้าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง เขาก็อาจจะดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า และปัจจัยดังกล่าวจะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อจีนและเม็กซิโก ทั้งนี้ อาจจะยังไม่มีการยืนยันผลว่าใครเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วง 2-3 วันข้างหน้า ในขณะที่ค่าความผันผวนระยะหนึ่งสัปดาห์ของยูโร/ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2023 ในช่วงนี้ ส่วนค่าความผันผวนของหยวน/ดอลลาร์เคลื่อนตัวอยู่ใกล้สถิติสูงสุดที่ทำไว้ในวันจันทร์ ทางด้านค่าความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020
บิทคอยน์พุ่งขึ้น 1.40% สู่ 68,014 ดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 1 สัปดาห์ที่ 66,776.19 ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ของบล.ทีดีระบุว่า "ถ้าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และพรรครีพับลิกันได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรส สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลบวกต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ถ้าหากกมลา แฮร์ริสชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และพรรคเดโมแครตได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรส สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลลบเป็นอย่างมากต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสถานการณ์ที่อาจจะไม่ส่งผลบวกหรือผลลบมากนักคือการที่แฮร์ริสชนะการเลือกตั้ง แต่พรรคเดโมแครตไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรส" และนักวิเคราะห์ระบุเสริมว่า "เราไม่คิดว่าชัยชนะของแฮร์ริสจะส่งผลลบต่อดอลลาร์สหรัฐในระยะกลาง เพราะชัยชนะของแฮร์ริสจะส่งผลให้นักลงทุนหันเหจุดสนใจกลับไปยังเศรษฐกิจมหภาค ในขณะที่ชัยชนะของนายทรัมป์จะส่งผลให้นักลงทุนมุ่งความสนใจไปยังปัจจัยทางการเมือง"
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ในวันนี้ตามความคาดหมาย ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 10 ปี โดย RBA ย้ำว่านโยบายการเงินจำเป็นจะต้องอยู่ในภาวะเข้มงวดต่อไป จนกว่า RBA จะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงตามต้องการ นอกจากนี้ RBA ยังระบุย้ำอีกด้วยว่า RBA ไม่ได้ตัดโอกาสทางเลือกใด ๆ สำหรับการกำหนดนโยบายในอนาคต ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 98.5% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 1.5% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกัน 0.45% ในช่วงต่อไปในปีนี้ และคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75% ในปี 2025--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน