ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--11 ต.ค.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนร่วงลงในวันพฤหัสบดี ในขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้รับการรายงานออกมาในวันพฤหัสบดี ซึ่งรวมถึงตัวเลขที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในตลาดแรงงานสหรัฐ และราคาผู้บริโภคที่ปรับขึ้นเล็กน้อย โดยตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ส่วนดัชนี CPI ทั่วไปแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.4% ในเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง หลังจากปรับขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดัชนี CPI ทั่วไปอาจขยับขึ้น 0.1% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน และอาจปรับขึ้น 2.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังรายงานอีกด้วยว่า ดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 3.3% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 3.2% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 102.89 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 102.88 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 103.17 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 148.56 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยร่วงลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 149.29 เยน หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 149.58 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0935 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยขยับลงจาก 1.0939 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.0898 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐพุ่งขึ้น 33,000 ราย สู่ 258,000 รายในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 230,000 ราย โดยตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานได้รับแรงหนุนบางส่วนมาจากพายุเฮอริเคนเฮลีนและการพักงานในบริษัทโบอิ้ง ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 85.4% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 14.6% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.46% ในช่วงต่อไปในปีนี้
ดอลลาร์/เยนร่วงลงในวันพฤหัสบดี ในขณะที่นายเรียวโซ ฮิมิโนะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กล่าวสนับสนุนให้บีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ถ้าหากเศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวไปตามที่บีโอเจคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐ/ฟรังก์สวิสร่วงลง 0.45% สู่ 0.856 ฟรังก์สวิสในวันพฤหัสบดี
นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตากล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลในวันพฤหัสบดีว่า เขายอมรับได้อย่างเต็มที่กับการที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมเดือนพ.ย. และเขากล่าวเสริมว่า ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานที่แกว่งตัวผันผวนในระยะนี้อาจจะสนับสนุนให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในเดือนพ.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--19 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินแข็งค่าขึ้นในวันพุธ หลังจากแกว่งตัวผันผวนในระหว่างวัน ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% โดยให้เหตุผลว่าเฟดมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า อัตราเงินเฟ้อจะยังคงชะลอตัวลงสู่ระดับเป้าหมายที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% เมื่อเทียบรายปี นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของเฟดยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% สู่ 4.25-4.50% ในช่วงปลายปีนี้, จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1% ในปี 2025 สู่ 3.25-3.50% ในช่วงปลายปี 2025 และจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในปี 2026 สู่ 2.75-3.00% ในช่วงปลายปี 2026 ซึ่งจะถือเป็นจุดต่ำสุดของวัฏจักร ทั้งนี้ ดอลลาร์ร่วงลงในช่วงแรกหลังจากเฟดเผยผลการประชุม แต่ดอลลาร์ลดช่วงติดลบกลับขึ้นมาได้หลังจากนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจัดงานแถลงข่าว โดยนายพาวเวลล์กล่าวว่า "ผมมองไม่เห็นสัญญาณใด ๆ ในเศรษฐกิจสหรัฐในตอนนี้ที่บ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย คุณเห็นได้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตในอัตราที่แข็งแกร่ง, อัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลง และตลาดแรงงานก็ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก"
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 101.02 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 100.91 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากดิ่งลงแตะ 100.21 ในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 142.27 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ โดยอ่อนค่าลงจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 142.40 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1118 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยขยับขึ้นจาก 1.1113 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร
หลังจากเฟดประกาศผลการประชุม นักลงทุนในตลาดสัญญาล่วงหน้าก็คาดว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกราว 0.70% ในช่วงต่อไปในปีนี้ ทั้งนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีกับ 10 ปี ซึ่งถือเป็นมาตรวัดการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ พุ่งขึ้นแตะ 0.1018% ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นระดับที่ลาดชันที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2022 หรือลาดชันที่สุดในรอบ 2 ปี และอยู่ที่ 0.0837% ในช่วงท้ายวันพุธ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีปรับขึ้นจาก 3.642% ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 3.687% ในช่วงท้ายวันพุธ
ปอนด์แข็งค่าขึ้นจาก 1.3163 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร สู่ 1.3214 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ โดยปอนด์ถือเป็นสกุลเงินที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่มจี-10 นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ทั้งนี้ หยวนพุ่งขึ้นแตะ 7.0708 หยวนต่อดอลลาร์ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2023 --จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
โตเกียว--18 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินปรับลงในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากที่เพิ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐที่แข็งแกร่งเกินคาด ในขณะที่เทรดเดอร์รอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะได้รับการประกาศออกมาในเวลา 01.00 น.ของวันพฤหัสบดีตามเวลาไทย และรอดูงานแถลงข่าวของเฟดในเวลา 01.30 น.ตามเวลาไทยด้วย ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 65% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวพุ่งขึ้นจากระดับราว 30% ที่เคยคาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และนักลงทุนก็คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 35% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี นอกจากนี้ นักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 1.17% ในปีนี้
ดอลลาร์/เยนดิ่งลง 0.73% สู่ 141.36 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 139.58 เยนในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023 ส่วนยูโร/ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ 1.1127 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ และเทียบกับจุดสูงสุดของปีนี้ที่ 1.1201 ดอลลาร์ที่เคยทำไว้ในวันที่ 26 ส.ค. ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอ่อนค่าลง 0.10% สู่ 100.81 ในช่วงเช้าวันนี้ ทั้งนี้ ปอนด์ขยับขึ้น 0.03% สู่ 1.3165 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้น 0.17% สู่ 0.6766 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้น 0.27% สู่ 0.6205 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคานม
สำนักงานสำมะโนประชากรในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐปรับขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.ค. และสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับลดลง 0.2% ในเดือนส.ค. ส่วนยอดค้าปลีกแบบเทียบรายปีพุ่งขึ้น 2.1% ในเดือนส.ค. โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสสาม ในขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และปัจจัยบวกนี้ช่วยบดบังยอดขายที่ลดลงในบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ทั้งนี้ เฟดสาขาแอตแลนตาปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐประจำไตรมาสสามหลังจากมีการรายงานตัวเลขยอดค้าปลีก โดยเฟดสาขาแอตแลนตาคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐอาจจะเติบโต 3.0% ในไตรมาสสามเมื่อเทียบเป็นตัวเลขเต็มปี (annualized) โดยปรับขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 2.5% และเทียบกับอัตราการเติบโตที่ 3.0% ในไตรมาสสอง
เทรดเดอร์ระบุว่า การแสดงความเห็นของเฟดและขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันพุธจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตรา โดยนายนาธาน สวามี หัวหน้าฝ่ายการค้าสกุลเงินของธนาคารซิตี้กรุ๊ประบุว่า "ถ้าหากเฟดส่งสัญญาณแบบสายพิราบว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมากในอนาคต ปัจจัยดังกล่าวก็น่าจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง" อย่างไรก็ดี ถ้าหากเฟดส่งสัญญาณแบบสายพิราบเป็นอย่างมาก นักลงทุนก็อาจจะกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะตกต่ำลงอย่างรุนแรงเกินคาดในอนาคต และปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ และสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อขั้นสุดท้ายประจำเดือนส.ค.ของยูโรโซนที่จะได้รับการรายงานออกมาในวันนี้ แต่นักลงทุนคาดว่า ตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อขั้นต้น
ปอนด์ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.46% จากช่วงต้นปีนี้ และส่งผลให้ปอนด์ถือเป็นสกุลเงินที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่มจี-10 ในปีนี้ โดยปอนด์ได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงได้ยากในอังกฤษ ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษที่จะได้รับการรายงานออกมาในช่วงต่อไปในวันนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 65% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. หลังจากบีโออีเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วในเดือนส.ค. และนักลงทุนก็คาดว่า มีโอกาส 35% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 19 ก.ย.--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--18 ก.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในวันอังคาร หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกที่ดีเกินคาด และตัวเลขดังกล่าวช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ซึ่งจะถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครังแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2020 เป็นต้นมา หรือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันอังคารว่า ยอดค้าปลีกสหรัฐปรับขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 1.1% ในเดือนก.ค. และสวนทางกับตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ยอดค้าปลีกอาจปรับลดลง 0.2% ในเดือนส.ค. โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสสาม ในขณะที่ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และปัจจัยบวกนี้ช่วยบดบังยอดขายที่ลดลงในบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 100.91 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยแข็งค่าขึ้นจาก 100.70 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 142.40 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยพุ่งขึ้นจากระดับปิดตลาดวันจันทร์ที่ 140.60 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1113 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร โดยอ่อนค่าลงจาก 1.1132 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ แต่ยังคงอยู่ใกล้กับจุดสูงสุดของปีนี้ที่ 1.1201 ดอลลาร์
นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 65% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวพุ่งขึ้นจากระดับราว 30% ที่เคยคาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และนักลงทุนก็คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 35% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ออกมาในวันพุธช่วยสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% เช่นกัน โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพุธว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจปรับขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค. หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ +0.3% ในเดือนก.ค.เมื่อเทียบรายเดือน โดยรายงานนี้บ่งชี้ว่า การลงทุนในสต็อกสินค้าคงคลังอาจจะมีส่วนช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสาม ทางด้านเฟดรายงานในวันอังคารว่า ผลผลิตภาคโรงงานของสหรัฐพุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนส.ค. หลังจากร่วงลง 0.7% ในเดือนก.ค. และเทียบกับโพลล์รอยเตอร์ที่คาดว่า ผลผลิตภาคโรงงานอาจปรับขึ้นเพียง 0.3% ในเดือนส.ค.
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีแนวโน้มที่จะตรึงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันศุกร์นี้ หลังจากบีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ แต่บีโอเจมีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้การประชุมของบีโอเจในวันที่ 30-31 ต.ค.กลายเป็นการประชุมที่มีความสำคัญ
ปอนด์ร่วงลงจาก 1.3216 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ สู่ 1.3163 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันอังคาร แต่ปอนด์ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.5% จากช่วงต้นปีนี้ และส่งผลให้ปอนด์ถือเป็นสกุลเงินที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่มจี-10 ในปีนี้ โดยปอนด์ได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงได้ยากในอังกฤษ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 65% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. หลังจากบีโออีเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วในเดือนส.ค. และนักลงทุนก็คาดว่า มีโอกาส 35% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 19 ก.ย.--จบ--
--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
สิงคโปร์--17 ก.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินทรงตัวในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย และยังคงเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดของปีนี้ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 67% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวพุ่งขึ้นจากระดับราว 30% ที่เคยคาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และนักลงทุนก็คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 33% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. ทั้งนี้ การคาดการณ์เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.50% ได้รับแรงกระตุ้นมาจากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลและหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ในช่วงเย็นวันพฤหัสบดีที่ 12 ก.ย.ที่ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 0.50% ยังคงถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเฟด นอกจากนี้ นักลงทุนก็จะรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของแคนาดาที่จะได้รับการรายงานออกมาในช่วงต่อไปในวันนี้ด้วย
ดอลลาร์/เยนขยับขึ้น 0.03% สู่ 140.64 เยนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 139.58 เยนในวันจันทร์ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023 หรือจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ส่วนยูโร/ดอลลาร์ขยับลง 0.07% สู่ 1.1124 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดของปีนี้ที่ 1.1201 ดอลลาร์ในวันที่ 26 ส.ค. ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับขึ้น 0.02% สู่ 100.72 ในช่วงเช้าวันนี้ และเคลื่อนตัวอยู่ใกล้จุดต่ำสุดของปีนี้ที่ 100.51 ที่เคยทำไว้ในวันที่ 27 ส.ค. ทั้งนี้ ปอนด์ขยับลง 0.07% สู่ 1.3205 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 1.3269 ดอลลาร์ในวันที่ 27 ส.ค. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบราว 2 ปีครึ่ง ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียขยับลง 0.01% สู่ 0.6751 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้น 0.70% ในวันจันทร์ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนค่าลง 0.10% สู่ 0.6191 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากทะยานขึ้น 0.69% ในวันจันทร์
มีการคาดการณ์กันว่า ถ้าหากดอลลาร์/เยนดิ่งลงผ่านระดับ 140.00 เยน และเคลื่อนตัวอยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ดอลลาร์/เยนก็อาจจะรูดลงต่อไปจนแตะจุดต่ำสุดของเดือนม.ค. 2023 ซึ่งอยู่ที่ 127.215 เยน ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีแนวโน้มที่จะตรึงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันศุกร์นี้ หลังจากบีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ แต่บีโอเจมีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้การประชุมของบีโอเจในวันที่ 30-31 ต.ค.กลายเป็นการประชุมที่มีความสำคัญ
นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารแมคควารีระบุว่า "ไม่ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% หรือ 0.50% ในวันพุธนี้ เราก็คาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณแบบสายพิราบในวันพุธนี้" และพวกเขาระบุเสริมว่า "ดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญ ถ้าหากเฟดส่งสัญญาณแบบสายพิราบเป็นอย่างมาก ถึงแม้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% โดยมีแนวโน้มว่าดอลลาร์จะดิ่งลงอย่างรุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับเยน เพราะว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะมีความแตกต่างจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของบีโอเจมากที่สุดในช่วงนี้"
ปอนด์พุ่งขึ้นมาแล้ว 3.9% จากช่วงต้นปีนี้ และส่งผลให้ปอนด์กลายเป็นสกุลเงินในกลุ่มจี-10 ที่พุ่งขึ้นมากที่สุดในปีนี้ โดยปอนด์ได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของอังกฤษ และจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงได้ยากในอังกฤษ ทั้งนี้ นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 64% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. หลังจากบีโออีเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วในเดือนส.ค. และนักลงทุนก็คาดว่า มีโอกาส 36% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากระดับ 20% ที่เคยคาดไว้ในวันศุกร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
นิวยอร์ค--17 ก.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีในระหว่างช่วงการซื้อขายวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 17-18 ก.ย. โดยการคาดการณ์ดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัลและหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 67% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวพุ่งขึ้นจากระดับราว 15% ที่เคยคาดไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว และนักลงทุนก็คาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 33% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย.
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 100.70 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยอ่อนค่าลงจาก 101.10 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 140.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยปรับลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 140.82 เยน หลังจากดิ่งลงแตะ 139.58 เยนในระหว่างวัน ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2023
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.1132 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.1076 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดิ่งลงในช่วงนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีร่วงลงจาก 3.649% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 3.621% ในช่วงท้ายวันจันทร์ และดิ่งลงมาแล้วราว 0.30% ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 2 ปีปรับลงจาก 3.576% ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 3.555% ในช่วงท้ายวันจันทร์ และดิ่งลงจากระดับราว 3.94% เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
นักลงทุนรอดูผลการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ในวันศุกร์ โดยนักลงทุนคาดว่าบีโอเจจะตรึงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ 0.25% ตามเดิม หลังจากบีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ ทั้งนี้ นายปีเตอร์ คาซิมีร์ สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวในวันจันทร์ว่า เกือบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า อีซีบีจะรอจนกว่าจะถึงการประชุมในวันที่ 12 ธ.ค. ก่อนที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง เพื่อที่อีซีบีจะได้มั่นใจว่า อีซีบีไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนเกินไป
นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 64% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. หลังจากบีโออีเริ่มต้นวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วในเดือนส.ค. และนักลงทุนก็คาดว่า มีโอกาส 36% ที่บีโออีอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 19 ก.ย. โดยโอกาสดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากระดับ 20% ที่เคยคาดไว้ในวันศุกร์ ทั้งนี้ ปอนด์แข็งค่าขึ้นจาก 1.3125 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์ สู่ 1.3216 ดลอลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
เยนทรงตัวที่ระดับสูงสุดของปีนี้ในช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชียท่ามกลางภาวะซื้อขายเบาบางเนื่องจากตลาดการเงินญี่ปุ่น, จีนและเกาหลีใต้ปิดทำการเนื่องในวันหยุด ขณะที่นักลงทุนพิจารณาอัตราการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนในสัปดาห์นี้
ดอลลาร์ทรงตัวที่ 140.86 เยน ใกล้เคียงระดับปิดเมื่อวันศุกร์ และใกล้ระดับต่ำสุดตั้งแต่ปลายเดือนธ.ค.ที่ 104.285 เยนที่ทำไว้เมื่อวันศุกร์ และดอลลาร์อ่อนค่า 1.3% ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ยูโรแข็งค่า 0.11% มาที่ 1.1088 ต่อดอลลาร์ ส่วนดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลง 0.1% มาที่ระดับ 101
ตลาดกำลังรอดูการประชุมของเฟดระหว่างวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะประกาศมติการประชุมนโยบายในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ตามลำดับ และเครื่องมือเฟดวอทช์ของซีเอ็มอีพบว่า เทรดเดอร์สัญญาล่วงหน้าปรับตัวรับโอกาส 52% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 0.50% และสัญญาล่วงหน้าสะท้อนว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยรวม 1.25% ในปีนี้
นักลงทุนคาดว่าบีโอเจจะคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นที่ 0.25% ขณะที่กรรมการบีโอเจระบุว่า พวกเขาต้องการเห็นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และส่วนต่างที่แคบลงระหว่างอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นและสกุลเงินสำคัญอื่นๆทำให้เยนแข็งค่าขึ้น และทำให้มีการระบายการทำ carry trade ด้วยเงินเยนคิดเป็นมูลค่านับพันล้านดอลลาร์แล้ว
ญี่ปุ่นจะมีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยในวันที่ 27 ก.ย.นี้ ขณะที่นายซานาเอะ ทาคาอิชิ ผู้สมัครกล่าวว่า บีโอเจควรชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อไป--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปลและเรียบเรียง)
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน