ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
นิวยอร์ค--5 พ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนระบาย Trump trades หรือการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และนักลงทุนปรับลดการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า พรรครีพับลิกันอาจจะได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสด้วย ในขณะที่โพลล์โดยรวมแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์จากพรรครีพับลิกันและกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครตได้คะแนนนิยมสูสีกันมาก นอกจากนี้ เว็บไซต์การพนัน PredictIt ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แฮร์ริสมีโอกาสสูงกว่านายทรัมป์เล็กน้อยในการชนะการเลือกตั้ง แต่เว็บไซต์ Polymarket ยังคงแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์มีโอกาสสูงกว่าในการชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวเคยได้รับแรงหนุนในช่วงก่อนหน้านี้จากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้าและนโยบายด้านผู้อพยพของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ และนักลงทุนมองว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้ากับความไม่แน่นอนในสหรัฐก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ ด้วย
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.93 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 104.30 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 152.13 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 152.98 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0877 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0834 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดปริวรรตเงินตรามีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงหลังการเลือกตั้งในสหรัฐ ถ้าหากพรรคการเมืองของประธานาธิบดีคนใหม่สามารถครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสได้ด้วยเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ของบล.ทีดีระบุว่า ถ้าหากพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้ในสภาคองเกรสและได้เป็นประธานาธิบดี ดอลลาร์สหรัฐก็จะพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการด้านภาษีศุลกากร, มาตรการปรับลดภาษีเงินได้ และการปรับลดกฎระเบียบ และมาตรการของพรรครีพับลิกันจะส่งผลกระทบในทางลบต่อแนวโน้มของจีนด้วย แต่ถ้าหากพรรคเดโมแครตได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสและได้เป็นประธานาธิบดี สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลลบเป็นอย่างมากต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะว่านักลงทุนจะระบาย Trump trades และการทำประกันความเสี่ยงออกมา และสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบระลอกสองต่อดอลลาร์ด้วย เพราะว่ามาตรการปรับขึ้นภาษีเงินได้และมาตรการปรับเพิ่มกฎระเบียบของพรรคเดโมแครตจะเริ่มส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ บิทคอยน์ดิ่งลง 2.95% สู่ 67,077 ดอลลาร์ในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนปรับลด Trump trades
ค่าความผันผวนระยะหนึ่งสัปดาห์ของยูโร/ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2023 ในช่วงนี้ ในขณะที่หยวนในตลาดต่างประเทศแข็งค่าขึ้น 0.42% สู่ 7.11 หยวนต่อดอลลาร์ ส่วนเปโซของเม็กซิโกพุ่งขึ้น 0.79% สู่ 20.129 เปโซต่อดอลลาร์ในวันจันทร์ นอกจากนี้ ค่าความผันผวนของหยวนก็ทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ ส่วนค่าความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 98.5% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 1.5% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 82% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. และคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.76% ในปี 2025
นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 93% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. และคาดว่ามีโอกาส 7% ที่บีโออีอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. และนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ตามเดิมในวันอังคารนี้และในช่วงต่อไปในปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางสวีเดนมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% สู่ 2.75% ในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสวีเดนที่อ่อนแอ และเพื่อสกัดกั้นไม่ให้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
หยวนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ ในขณะที่ตลาดเตรียมตัวรับความผันผวนในสัปดาห์นี้ เมื่อสหรัฐจะเลือกตั้งผู้นำคนใหม่และอาจจะลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่คณะกรรมาธิการสามัญประจำพรรคคอมมิวนิสต์เตรียมประชุมที่กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 4-8 พ.ย.นี้
ก่อนตลาดเปิดทำการ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางหยวนที่ 7.1203 ต่อดอลลาร์
หยวนในตลาดสปอตอยู่ที่ 7.1040 ต่อดอลลาร์ในช่วงเปิดตลาด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงเช้า ส่วนหยวนในตลาดออฟชอร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 7.1064 ต่อดอลลาร์
การดีดตัวขึ้นเล็กน้อยเกิดขึ้นหลังจากที่หยวนอ่อนค่าเทียบรายเดือนมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปีในเดือนต.ค. ขณะที่เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และการคาดการณ์ของเทรดเดอร์ที่ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และดอลลาร์เพิ่มขึ้น--จบ--
Eikon source text
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโร และดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ในวันศุกร์ หลังจากเทรดเดอร์ซึมซับข้อมูลที่พบว่า การจ้างงานของสหรัฐชะลอตัวอย่างมากในเดือนต.ค.ท่ามกลางปัญหาขัดข้องที่เกิดจากพายุเฮอริเคน และการผละงานประท้วงของกลุ่มคนงานโรงงานด้านการบิน
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 104.3 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 103.88 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 152.98 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 152.03 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0834 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ อ่อนค่าลงจากระดับ 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 12,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่ง แต่อัตราว่างงานทรงตัวที่ 4.1% ซึ่งทำให้เกิดความแน่ใจว่า ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอยู่ โดยพายุเฮอริเคนได้พัดถล่มภาคตะวันออกเฉียงใต้ในปลายเดือนก.ย. และพายุเฮอริเคนมิลตันได้พัดถล่มฟลอริดาในสัปดาห์ต่อมา ขณะที่มีคนงานใหม่จำนวน 41,4000 คนผละงานประท้วง ซึ่งรวมถึงช่างเครื่องกลของบริษัทโบอิ้ง และเท็กซ์ตรอนในช่วงที่มีการสำรวจเพื่อรายงานการจ้างงานในเดือนต.ค.
เทรดเดอร์สัญญาล่วงหน้าระบุว่ามีโอกาสราว 99% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.5-4.75% ในวันที่ 7 พ.ย.นี้
รายงานการจ้างงานเดือนต.ค.เป็นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญฉบับสุดท้ายก่อนที่ชาวอเมริกันจะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย.นี้ และผลสำรวจความเห็นพบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้สูสีอย่างมาก--จบ--
Eikon source text
โตเกียว--1 พ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับขึ้นเล็กน้อยในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ที่ตลาดเอเชีย ในขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานออกมาในช่วงต่อไปในวันนี้ เพื่อใช้ในการประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดีหรือไม่ ก่อนที่สหรัฐจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 5 พ.ย. และก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์คาดว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐอาจเพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. แต่ตัวเลขการจ้างงานอาจได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้การวิเคราะห์ตัวเลขการจ้างงานเดือนต.ค.เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดการณ์กันอีกด้วยว่า อัตราการว่างงานในสหรัฐอาจอยู่ที่ 4.1% ในเดือนต.ค. โดยนายทาปาส สตริคแลนด์จากธนาคารเนชันแนล ออสเตรเลีย แบงก์ระบุว่า "ถ้าหากอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.1% ในเดือนต.ค. ตัวเลขดังกล่าวก็จะอยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) ในเดือนก.ย.ที่คาดว่า อัตราการว่างงานอาจจะปรับขึ้นสู่ 4.4% ในไตรมาส 4/2024 และปัจจัยนี้จะส่งผลให้มีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย"
ดอลลาร์/เยนแข็งค่าขึ้น 0.29% สู่ 152.47 เยนในช่วงเช้าวันนี้ ส่วนยูโร/ดอลลาร์ขยับลง 0.06% สู่ 1.0876 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากปรับขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.0888 ดอลลาร์สหรัฐในระหว่างวัน ทางด้านดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินขยับขึ้น 0.09% สู่ 103.97 ในช่วงเช้าวันนี้ ทั้งนี้ ปอนด์ขยับลง 0.01% สู่ 1.2898 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากดิ่งลงแตะ 1.28445 ดอลลาร์เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนส.ค. ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียขยับลง 0.06% สู่ 0.6577 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้ ทางด้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ขยับลง 0.01% สู่ 0.5976 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเช้าวันนี้
เยนเพิ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อวานนี้ หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับลดการส่งสัญญาณแบบสายพิราบ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ต.ค. และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเคลื่อนตัวอยู่ใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2% ต่อไปในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า บีโอเจพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ทางด้านนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศ ค่าแรงและราคาก็กำลังปรับตัวในแบบที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของเรา และในส่วนของความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจต่างประเทศนั้น เราก็พบว่าสถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย" โดยถ้อยแถลงของเขาบ่งชี้ว่า เงื่อนไขต่าง ๆ กำลังจะเปิดโอกาสให้บีโอเจสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกครั้ง และถ้อยแถลงของเขาถือเป็นการปรับลดการส่งสัญญาณแบบสายพิราบลงเมื่อเทียบกับถ้อยแถลงของนายอุเอดะในช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ระบุในวันพฤหัสบดีว่า พวกเขายังคงคาดว่ามีแนวโน้มสูงที่บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 0.5% ในเดือนม.ค. จากระดับ 0.25% ในปัจจุบัน แต่พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจัยต่าง ๆ อย่างเช่นค่าดอลลาร์/เยนและอัตราเงินเฟ้อจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจของบีโอเจในช่วงปลายปีนี้
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้น 3.11% ในเดือนต.ค. ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2022 หรือครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี โดยดัชนีดอลลาร์ได้รับแรงหนุนในช่วงที่ผ่านมาจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด และได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. ทั้งนี้ สำนักงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ (BEA) ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นิยมใช้ ปรับขึ้น 2.1% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หรือต่ำที่สุดในรอบกว่า 3 ปีครึ่ง หลังจากดัชนี PCE ปรับขึ้น 2.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยรายงานตัวเลขนี้ช่วยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย.
ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อวานนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนต.ค. โดยยูโรสแตทระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเร่งตัวขึ้นจาก 1.7% ในเดือนก.ย. สู่ 2.0% ในเดือนต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 1.9% ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานทรงตัวที่ 2.7% ในเดือนต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
เบงกาลูรู--1 พ.ย.--รอยเตอร์
รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินกว่า 70 รายในวันที่ 28-31 ต.ค. และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาในวันพฤหัสบดี โดยผลสำรวจคาดว่า บาทซึ่งอยู่ที่ระดับราว 33.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้ อาจจะอยู่ที่ 33.93 บาทต่อดอลลาร์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงปลายเดือนพ.ย., อยู่ที่ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงสิ้นเดือนม.ค. 2025, อยู่ที่ 33.34 บาทต่อดอลลาร์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. 2025 และอยู่ที่ 33.12 บาทต่อดอลลาร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงสิ้นเดือนต.ค. 2025 ซึ่งเท่ากับว่าบาทอาจจะแข็งค่าขึ้น 1.95% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยตัวเลขเหล่านี้วัดจากค่ากลางของโพลล์ ส่วนตัวเลขคาดการณ์ทั้งหมดในโพลล์สำหรับค่าเงินบาทในช่วงสิ้นเดือนต.ค. 2025 อยู่ในระดับ 28.67-35.60 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ โพลล์รอยเตอร์คาดว่า ดอลลาร์สหรัฐจะยังคงรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ และจากการที่นักลงทุนปรับลดการคาดการณ์เรื่องแนวโน้มในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้น 3.11% ในเดือนต.ค. ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายระบุว่า ปัจจัยหลักที่หนุนดอลลาร์ให้พุ่งขึ้นในเดือนต.ค.คือการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. แต่นักวิเคราะห์รายอื่น ๆ ระบุว่า ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนหลักจากตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐ โดยเฉพาะตัวเลขปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคและตัวเลขตลาดแรงงาน โดยตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ส่งผลให้นักลงทุนปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐให้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ ดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะยังคงได้รับแรงหนุนต่อไปจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เพราะว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในระยะอันใกล้นี้อย่างรวดเร็วกว่าเฟด
นายแดน โทบอน จากซิตี้กรุ๊ประบุว่า "สหรัฐเริ่มรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงเริ่มต้นปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะดำเนินนโยบายแบบสายเหยี่ยวมากกว่าที่เราเคยคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ แต่ในส่วนของยุโรปนั้น เราได้เห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ดังนั้นเราจึงเริ่มปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า อีซีบีจะดำเนินนโยบายแบบสายพิราบมากกว่าที่เราเคยคาดการณ์กันไว้" และเขากล่าวเสริมว่า "เราคาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และหลังจากนั้นดอลลาร์ก็จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย และจะแกว่งตัวไซด์เวย์เหมือนกับในช่วงที่ผ่านมา" ทั้งนี้ โพลล์คาดว่ายูโรซึ่งอยู่ที่ 1.0876 ดอลลาร์ในปัจจุบัน อาจจะอยู่ที่ 1.0900 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนพ.ย. ก่อนที่จะขยับขึ้นราว 1% สู่ 1.10 ดอลลาร์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงสิ้นเดือนม.ค. 2025, ปรับขึ้นสู่ 1.1100 ในอีก 6 เดือนข้างหน้า และปรับขึ้นสู่ 1.1233 ดอลลาร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับว่ายูโรอาจจะพุ่งขึ้น 3.28% ในอีก 1 ปีข้างหน้า
นักยุทธศาสตร์การลงทุน 28 จาก 31 ราย หรือ 90% ของโพลล์คาดว่า ชัยชนะของนายทรัมป์จะส่งผลบวกต่อดอลลาร์มากกว่าชัยชนะของกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต ในขณะที่หลายคนมองว่านโยบายด้านภาษีศุลกากรและนโยบายด้านการค้าของนายทรัมป์อาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐปรับสูงขึ้น โดยค่ากลางจากตัวเลขคาดการณ์ของนักยุทธศาสตร์การลงทุนแสดงให้เห็นว่า ดอลลาร์มีแนวโน้มพุ่งขึ้นอีก 1.5% ถ้าหากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง และดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง 1% ถ้าหากแฮร์ริสชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ โพลล์คาดว่า ดัชนีดอลลาร์สหรัฐซึ่งอยู่ที่ 103.94 ในปัจจุบัน จะอ่อนค่าลงสู่ 103.725 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า, 101.795 ในอีก 3 เดือนข้างหน้า, 100.585 ในอีก 6 เดือนข้างหน้า และ 100.175 ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับว่าดัชนีดอลลาร์มีแนวโน้มดิ่งลง 3.62% ในอีก 1 ปีข้างหน้า
โพลล์คาดว่า ดอลลาร์/เยนซึ่งอยู่ที่ 152.34 เยนในปัจจุบัน อาจจะดิ่งลงสู่ 148.25 เยนในอีก 1 เดือนข้างหน้า, 144.00 เยนในอีก 3 เดือนข้างหน้า, 140.67 เยนในอีก 6 เดือนข้างหน้า และ 136.67 เยนในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับว่าดอลลาร์/เยนอาจจะดิ่งลง 10.29% ในอีก 1 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ โพลล์คาดว่า ปอนด์ซึ่งอยู่ที่ 1.2891 ดอลลาร์ในปัจจุบัน อาจจะอยู่ที่ 1.3050 ดอลลาร์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า, 1.3100 ดอลลาร์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า, 1.3200 ดอลลาร์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า และ 1.3400 ดอลลาร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับว่าปอนด์อาจจะพุ่งขึ้น 3.95% ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผลสำรวจภาคเอกชนพบว่า กิจกรรมภาคการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 3 เดือนในเดือนต.ค. ขณะที่ภาวะอุปสงค์ต่างประเทศและในประเทศที่อ่อนแอกระทบยอดขายและการผลิต
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตขั้นปลาย ลดลงสู่ระดับ 49.2 ในเดือนต.ค. จากระดับ 49.7 ในเดือนก.ย. แต่เพิ่มขึ้นจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 49.0 และดัชนียังคงต่ำกว่าระดับ 50.0 ที่แบ่งแยกระหว่างการขยายตัวและการหดตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
นายยูซามาห์ พัตตี นักเศรษฐศาสตร์จากเอสแอนด์พี โกลบอล มาร์เกต อินเทลลิเจนซ์กล่าวว่า "บริษัทต่างๆระบุว่า ภาวะชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศถ่วงยอดขายและการผลิต โดยเฉพาะในภาคเซมิคอนดัคเตอร์และรถยนต์"
ยอดสั่งซื้อใหม่หดตัวลงเช่นกัน และทรงตัวต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ซึ่งบ่งชี้ว่า ยอดขายร่วงลงอีกเนื่องจากอุปสงค์ที่ซบเซาจากภาครถยนต์ และเซมิคอนดัคเตอร์ ขณะที่บริษัทต่างๆยังระบุว่า อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซาเป็นเหตุผลที่ทำให้ยอดสั่งซื้อใหม่ถดถอยลง--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--1 พ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์/เยนดิ่งลงในวันพฤหัสบดี หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับลดการส่งสัญญาณแบบสายพิราบ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงต่อไป และปัจจัยดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0.25% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 30-31 ต.ค. และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นจะเคลื่อนตัวอยู่ใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2% ต่อไปในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า บีโอเจพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยนายคาสุโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการบีโอเจกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศ ค่าแรงและราคาก็กำลังปรับตัวในแบบที่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของเรา และในส่วนของความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจต่างประเทศนั้น เราก็พบว่าสถานการณ์ดีขึ้นเล็กน้อย" โดยถ้อยแถลงของเขาบ่งชี้ว่า เงื่อนไขต่าง ๆ กำลังจะเปิดโอกาสให้บีโอเจสามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกครั้ง และถ้อยแถลงของเขาถือเป็นการปรับลดการส่งสัญญาณแบบสายพิราบลงเมื่อเทียบกับถ้อยแถลงของนายอุเอดะในช่วงก่อนหน้านี้
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.88 ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยอ่อนค่าลงจาก 104.09 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 152.03 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันพุธที่ 153.41 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0883 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพฤหัสบดี โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0855 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันพุธ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานในวันพฤหัสบดีว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐ ซึ่งครองสัดส่วนสูงกว่า 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ปรับขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย. หลังจากปรับขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ +0.4% สำหรับเดือนก.ย. ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ ปรับขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. ในขณะที่ดัชนี PCE แบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.1% ในเดือนก.ย. ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2021 หลังจากปรับขึ้น 2.3% ในเดือนส.ค.เมื่อเทียบรายปี ทางด้านดัชนี PCE พื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานปรับขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย.เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานแบบเทียบรายปีปรับขึ้น 2.7% ในเดือนก.ย.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
นายเธียรี วิซแมน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารแมคควารีกล่าวว่า ยังคงมีแนวโน้มสูงที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมวันที่ 6-7 พ.ย. แต่เนื่องจากการคาดการณ์เงินเฟ้อในสหรัฐปรับสูงขึ้น เฟดก็อาจจะพิจารณาเรื่องการไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 95% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 5% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงรวมกันราว 0.43% ในช่วงต่อไปในปีนี้ และอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.77% ในปี 2025
ยูโรแข็งค่าขึ้น หลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนพุ่งขึ้นสูงเกินคาดในเดือนต.ค. และปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ใช้ความระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ยูโรสแตทระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเร่งตัวขึ้นจาก 1.7% ในเดือนก.ย. สู่ 2.0% ในเดือนต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 1.9% ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานทรงตัวที่ 2.7% ในเดือนต.ค. และอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.6%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน