ตลาด
ข่าวสาร
การวิเคราะห์
ผู้ใช้
24x7
ปฏิทินเศรษฐกิจ
แหล่งเรียนรู้
ข้อมูล
- ชื่อ
- ค่าล่าสุด
- ครั้งก่อน
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
ค:--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
--
ค: --
ค: --
ไม่มีข้อมูลที่ตรงกัน
ทัศนคติล่าสุด
ทัศนคติล่าสุด
หัวข้อยอดนิยม
เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างรวดเร็วและติดตามตลาดโฟกัสใน 15 นาที
ในโลกของมนุษยชาติ จะไม่มีคำกล่าวใด ๆ ที่ไม่มีจุดยืนใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ ที่ไม่มีจุดประสงค์ใด ๆ
อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจเชิงนโยบายของธนาคารกลาง ทัศนคติและคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเทรดเดอร์ในตลาดอีกด้วย
เงินทำให้โลกหมุนไป และสกุลเงินเป็นสินค้าถาวร ตลาดฟอเร็กซ์เต็มไปด้วยความประหลาดใจและความคาดหวัง
คอลัมนิสต์ยอดนิยม
เพลิดเพลินกับกิจกรรมที่น่าตื่นเต้น ที่นี่ที่ FastBull
ข่าวด่วนล่าสุดและเหตุการณ์ทางการเงินทั่วโลก
ฉันมีประสบการณ์ 5 ปีในการวิเคราะห์ทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนามหภาคและการตัดสินแนวโน้มระยะกลางและระยะยาว ความสนใจของฉันอยู่ที่การพัฒนาของตะวันออกกลาง ตลาดเกิดใหม่ ถ่านหิน ข้าวสาลี และสินค้าเกษตรอื่นๆ
7 ปีของตลาดหุ้น การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โลหะมีค่า และประสบการณ์การซื้อขายและการวิเคราะห์อื่น ๆ โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน การสนับสนุนทางเทคนิค มีอคติต่อตรรกะธุรกรรมจากบนลงล่าง โดยเน้นที่วัฏจักรมหภาคและการควบคุมความเสี่ยง การคาดการณ์เชิงทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานอเนกประสงค์ การเปลี่ยนแปลงของราคา สร้างสมดุลระหว่างผลกระทบของธุรกรรม การกระจายชิปและอารมณ์ตลาด และคงที่
อัปเดตล่าสุด
สร้างทัศนคติการลงทุนที่ดี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ปรัชญาการลงทุนของเขาประกอบด้วยการสร้างกรอบความคิดระยะยาว ขจัดญาณรบกวนของตลาด ไม่เก็งกำไร และเน้นย้ำว่าการลงทุนต้องมีมีจิตใจที่มั่นคงและเป้าหมายที่ชัดเจน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง
แม้ว่าระบบกฎหมายและกรอบการกำกับดูแลในฮ่องกงจะค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ตลาดหุ้นยังคงเผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายพิเศษหลายประการ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง HKD และ USD นักลงทุนต่างชาติอาจเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนของนโยบายและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นฮ่องกงด้วย
โครงสร้างต้นทุนและภาษีเมื่อลงทุนในหุ้นฮ่องกง
ต้นทุนการซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหุ้น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ฯลฯ สำหรับนักลงทุนต่างชาติอาจมีค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินเพิ่มเติมเป็นดอลลาร์ฮ่องกงและภาษีอื่น ๆ ตามข้อบังคับท้องถิ่น
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมฮ่องกง:อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็น
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นของฮ่องกง ได้แก่ รถยนต์ การศึกษา การท่องเที่ยว การจัดเลี้ยง เครื่องแต่งกาย และภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย จากบริษัทจดทะเบียน 643 แห่งนั้น 35% เป็นบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่และคิดเป็น 65% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากเศรษฐกิจจีน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดูผลการค้นหาทั้งหมด
ไม่มีข้อมูล
ไม่ได้ล็อกอิน
เข้าสู่ระบบเพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นเพิ่มเติม
สมาชิก FastBull
ยังไม่ได้เปิด
สมัคร
เข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียน
ฮ่องกง,ประเทศจีน
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
ดูไบ, UAE
ลากอส, ไนจีเรีย
ไคโร, อียิปต์
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
โครงการพันธมิตร
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐเพิ่มขึ้นตามคาดในเดือนต.ค.ท่ามกลางต้นทุนที่พักที่สูงขึ้น เช่น ค่าเช่า และความคืบหน้าไปสู่เงินเฟ้อต่ำนั้นชะลอตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดอัตราดอกเบี้ยน้อยลงในปีหน้า
ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้ และเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนก.ย.
ดัชนี CPI พื้นฐานที่ไม่รวมหมวดพลังงานและอาหาร เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือนในเดือนต.ค. โดยเพิ่มขึ้นในอัตราเดิมมา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว และเพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบรายปีในเดือนต.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนก.ย. และเพิ่มขึ้น 3.6% ในรอบ 3 เดือนที่แล้ว
คาดว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนหน้า แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็มองว่าขอบเขตการลดดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีหน้ามีจำกัด ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า นโยบายต่างๆของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีจะดำเนินไปได้อย่างไร้อุปสรรค เนื่องจากพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภา และเกือบจะครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ตลาดการเงินมองเห็นความน่าจะเป็นราว 82.3% ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในวันที่ 17-18 ธ.ค. เพิ่มขึ้นจาก 58.7% ก่อนเผยข้อมูลเงินเฟ้อ ขณะที่โอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยอยู่ที่ราว 17.7% ลดลงจาก 41.3% ก่อนหน้า--จบ--
Eikon source text
ดอลลาร์พุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญๆในวันพุธจากการซื้อขายแบบ Trump trades และหลังจากข้อมูล เงินเฟ้อของสหรัฐออกมาตามที่คาดไว้ในเดือนต.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยดอลลาร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนพ.ย.2023 จากการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการเก็บภาษีนำเข้า และมาตรการอื่นๆจากการบริหารของเขา
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 106.46 ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ เพิ่มขึ้นจาก 105.95 ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 106.53
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 155.45 เยนในช่วงท้ายตลาดวันพุธ เพิ่มขึ้นจากระดับ 154.60 เยนในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร โดยเยนอ่อนค่าทะลุระดับ 155 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0563 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันพุธ ร่วงลงจากระดับ 1.0623 ดอลลาร์ในช่วงท้ายตลาดวันอังคาร หลังจากที่ร่วงต่ำสุดที่ 1.055575 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนพ.ย.2023 โดยยูโรยังคงร่วงลงท่ามกลางการคาดการณ์ว่านายทรัมป์อาจเก็บภาษีนำเข้า และความไม่แน่นอนทางการเมืองในเยอรมนีถ่วงยูโรด้วยหลังการล่มสลายของพรรคร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโอลา โชลซ์ในสัปดาห์ที่แล้ว และการเลือกตั้งกำหนดไว้ในวันที่ 23 ก.พ.
นายแบรด เบคเทล หัวหน้าฝ่ายอัตราแลกเปลี่ยนโลกจากบริษัทเจฟฟรีส์กล่าวว่า "ผมคิดว่า เป็นความต่อเนื่องของการซื้อขายแบบ Trump trade ที่ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าโดยรวม รวมทั้งมีการระบายสถานะซื้อสกุลเงินตลาดเกิดใหม่ออกมาบางส่วนด้วย"
กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือนในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ ท่ามกลางต้นทุนที่พัก อาทิ ค่าเช่าที่สูงขึ้น และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 2.6%
บิทคอยน์พุ่งทะลุระดับ 90,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกจากความยินดีที่นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง และการคาดการณ์ว่า การบริหารของเขาจะเป็นประโยชน์ต่อสกุลเงินคริปโต--จบ--
Eikon source text
หยวนดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากการกำหนดค่ากลางที่สูงเกินคาด ซึ่งบ่งชี้ว่า ทางการไม่พอใจมากขึ้นกับการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินหยวนในช่วงที่ผ่านมา
หยวนร่วงลงนับตั้งแต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเขาประกาศว่าจะเก็บภาษีนำเข้า 60% หรือสูงกว่านั้นจากสินค้าจากจีน และข้อเสนอภาษีนำเข้าดังกล่าว รวมทั้งนโยบายอื่นๆเช่นการลดภาษี ถูกมองว่าจะกระตุ้นเงินเฟ้อ และอาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอยู่ในระดับสูงพอสมควรต่อไป จึงหนุนดอลลาร์แข็งค่า และกดดันสกุลเงินของประเทศคู่ค้าของสหรัฐ
ก่อนตลาดเปิดทำการ ธนาคารกลางจีนได้กำหนดค่ากลางหยวนที่ 7.1991 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนก.ย.2023 แต่ก็สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้อยู่ 0.0314 หยวน ซึ่งเป็นส่วนต่างที่มากที่สุดตั้งแต่เดือนส.ค.
หยวนในตลาดสปอตอยู่ที่ 7.2251 ต่อดอลลาร์ในช่วงเปิดตลาด และปิดเที่ยงวันเพิ่มขึ้น 0.0170 หยวน มาที่ 7.2185 ต่อดอลลาร์
ในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก หยวนร่วงลงราว 5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์จากการที่สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนรอบแรกในปี 2018 และอ่อนค่าอีก 1.5% ในปีต่อมาเมื่อสถานการณ์ด้านการค้าตึงเครียดมากขึ้น--จบ--
Eikon source text
แนวโน้มการดีดตัวขึ้นในระยะใกล้ของตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมูลค่า 28 ล้านล้านดอลลาร์กำลังหยุดชะงัก ขณะที่คาดว่าการที่นายโดนัลด์ ทรัมป์จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกครั้งจะนำมาซึ่งนโยบายเชิงขยายแบบการคลัง ซึ่งอาจชะลออัตราการลดดอกเบี้ยในอนาคตของธนาคารกลาสหรัฐ (เฟด)
แนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดถูกบดบังจากการคาดการณ์ว่า องค์ประกอบสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจของนายทรัมป์ อาทิ การลดภาษี และภาษีนำเข้าจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น และราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และนั่นอาจทำให้เฟดวิตกกับการเสี่ยงทำให้เงินเฟ้อฟื้นตัวด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปในปีหน้า ซึ่งจะลดการคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอาจกระตุ้นให้พันธบัตรดีดตัวขึ้น หลังจากมีแรงเทขายมาร่วมสัปดาห์
นายแดน ไอวาสซิน ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนจากพิมโค กล่าวว่า เขากังวลกับเงินเฟ้อที่ดีดตัวขึ้นจะทำให้เฟดต้องชะลอหรือหยุดพักการลดดอกเบี้ย "ผมคิดว่า ความเจ็บปวดสำหรับตลาดในระยะสั้นก็คือสถานการณ์ที่เงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง" ขณะที่การที่พรรครีพับลิกันคุมทั้งทำเนียบขาว และทั้งสองสภาในสภาคองเกรสอาจทำให้ง่ายขึ้นที่นายทรัมป์จะบังคับใช้การลดภาษี และทำให้พรรครีพับลิกันมีอิสระมากขึ้นสำหรับนโยบายเศรษฐกิจ
ผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นแทบไม่มีผลต่อตลาดหุ้น ซึ่งพุ่งขึ้นขณะที่ความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งหมดไปแล้ว และนักลงทุนเตรียมตัวรับความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งดันดัชนี S&P 500 พุ่งสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ผลตอบแทนที่พุ่งขึ้นอาจสร้างปัญหาให้แก่หุ้น ถ้าผลตอบแทนพุ่งมากเกินไป หรือเร็วเกินไป และผลตอบแทนที่สูงขึ้นยังเป็นคู่แข่งด้านการแข่งขันสำหรับหุ้นด้วยพร้อมๆกับเพิ่มต้นทุนเงินทุนให้แก่บริษัทและผู้บริโภค
ข้อมูลจากยูบีเอส โกลบอล เวลธ์ แมเนจเมนต์พบว่า ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งกว่า 0.70% ตั้งแต่กลางเดือนก.ย. และพุ่งขึ้นใน 1 เดือนมากที่สุดตั้งแต่วิกฤติการเงินโลกปี 2008 ขณะที่นักกลยุทธ์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบอล รีเสิร์ชได้ปรับเป้าหมายระยะใกล้สำหรับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็น 4.25-4.75% จาก 3.5-4.25% ก่อนหน้านี้--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--7 พ.ย.--รอยเตอร์
หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์นี้ นักลงทุนก็มุ่งความสนใจไปยังอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐ เพราะว่าถ้าหากดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงส่งผลกระทบต่อโรงงานสหรัฐและต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินร่วงลง 0.37% สู่ 104.73 ในวันนี้ หลังจากพุ่งขึ้น 1.53% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 8 ปี โดยดัชนีดอลลาร์เพิ่งทะยานขึ้นแตะ 105.44 ในระหว่างช่วงการซื้อขายวันพุธ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. หรือจุดสูงสุดรอบ 4 เดือนด้วย โดยดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นมาแล้วราว 3.8% จากช่วงต้นปีนี้
นักวิเคราะห์มองว่า ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดว่า ดอลลาร์จะพุ่งขึ้นต่อไปได้อีกมากเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ว่านายทรัมป์จะดำเนินมาตรการปรับลดภาษีเงินได้และมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าตามที่ได้หาเสียงไว้หรือไม่ เพราะว่ามาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น และจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอยู่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์มีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุน อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะสร้างความเสียหายต่อบริษัทสหรัฐได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ อนาคตของดอลลาร์จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ระดับสูงในสหรัฐอาจจะส่งผลให้ผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่ต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงเกินไป ทางด้านนักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 99.8% ที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 0.2% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาสเพียง 70% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. โดยโอกาสดังกล่าวดิ่งลงจากระดับ 77% ที่เคยคาดไว้ในวันอังคาร และนักลงทุนคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.65% ในปี 2025
นายปาเรช อุปะติไอยา จากบริษัทอามุนดี ยูเอสกล่าวว่า นักลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตราจำเป็นจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการในตอนนี้ ซึ่งรวมถึงมาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าในสหรัฐ, ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่จะมีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในสหรัฐ, ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวที่จะมีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มที่ว่าเฟดจะตอบรับอย่างไรต่อปัจจัยเหล่านี้ ทั้งนี้ นายแบรด เบคเทล หัวหน้าฝ่ายตลาดปริวรรตเงินตราของบริษัทเจฟฟรีส์คาดว่า ดอลลาร์สหรัฐอาจจะพุ่งขึ้นอีก 5% ถ้าหากพรรครีพับลิกันได้ครองเสียงข้างมากทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และดอลลาร์จะทะยานขึ้นไปอีกในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า เมื่อนายทรัมป์นำนโยบายต่าง ๆ ของเขามาประกาศใช้ โดยนายทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 ม.ค.ปีหน้า
ในปี 2016 นั้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินเคยพุ่งขึ้นราว 6% ในช่วงสองเดือนแรกหลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก แต่ดอลลาร์ลดช่วงบวกลงในช่วงไม่กี่เดือนต่อมา และหลังจากนั้นดัชนีดอลลาร์ก็พุ่งขึ้นอีกราว 13% ในช่วงตั้งแต่เดือนก.พ. 2018 จนถึงเดือนก.พ. 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่นายทรัมป์ประกาศใช้มาตรการภาษีนำเข้าต่อประเทศอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงจีนและเม็กซิโก ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของดอลลาร์อาจจะถือเป็นดาบสองคมสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ เพราะว่าการพุ่งขึ้นของดอลลาร์จะช่วยจำกัดภาวะเงินเฟ้อ แต่จะสร้างความเสียหายต่อประสิทธิภาพทางการแข่งขันของสินค้าสหรัฐในต่างประเทศ และการแข็งค่าของดอลลาร์จะสร้างความเสียหายต่อผลกำไรของบริษัทข้ามชาติของสหรัฐเมื่อทางบริษัทแปลงผลกำไรจากต่างประเทศให้มาอยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ด้วย
ผลการศึกษาโดยธนาคารเจพีมอร์แกนพบว่า เมื่อค่าดอลลาร์ตามการถ่วงน้ำหนักทางการค้าพุ่งขึ้น 2% ปัจจัยดังกล่าวก็จะส่งผลลบ 1% ต่ออัตราการเติบโตของผลกำไรของบริษัทในดัชนี S&P 500 ทางด้านผลการศึกษาของธนาคารดอยช์ แบงก์ระบุว่า มาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจะส่งผลลบราว 0.25% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ ทั้งนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์อาจจะสร้างความเสียหายมากเป็นพิเศษต่อประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหนี้สินจำนวนมากในรูปดอลลาร์ และปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางในประเทศเหล่านี้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยายามปกป้องสกุลเงินของตนเอง--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ผลสำรวจพบว่า กิจกรรมทางธุรกิจในยูโรโซนทรงตัวในเดือนต.ค. ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากที่ลดลงในเดือนก.ย. โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวของภาคบริการของยูโรโซน ซึ่งช่วยชดเชยภาคการผลิตที่ยังคงร่วงลง แม้จะมีเสถียรภาพก็ตาม
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) คอมโพสิตของเอชซีโอบี ซึ่งรวบรวมโดยเอสแอนด์พี โกลบอล เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.0 ในเดือนต.ค. จาก 49.6 ในเดือนก.ย. และเพิ่มขึ้นจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 49.7
ดัชนี PMI ภาคบริการขยับขึ้นสู่ระดับ 51.6 ในเดือนต.ค. จากระดับ 51.4 ในเดือนก.ย. และก็ดีกว่าข้อมูลขั้นต้นที่ 51.2
นายไซรัส เดอ ลา รูเบีย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์กล่าวว่า "การขยายตัว และเสถียรภาพไม่ใช่คำแรกๆที่คุณนำมาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันในยูโรโซน แต่นั่นคือสิ่งที่ภาคบริการจัดหามาให้ โดยการขยายตัวที่มีเสถียรภาพนับตั้งแต่ต้นปีนี้ การขยายตัวเล็กน้อยของภาคบริการเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ยูโรโซนพ้นจากภาวะถดถอย"
เขากล่าวอีกว่า "เรามั่นใจว่า ผู้ให้บริการจะยังคงเพิ่มกิจกรรม ขณะที่เงินเฟ้อที่ลดลง และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหมายถึงการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนความต้องการบริการ ดังนั้น เราจึงคาดว่า ธุรกิจใหม่จะฟื้นตัวด้วย"--จบ--
Eikon source text
นิวยอร์ค--5 พ.ย.--รอยเตอร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนระบาย Trump trades หรือการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์อาจจะชนะการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 5 พ.ย. และนักลงทุนปรับลดการลงทุนตามการคาดการณ์ที่ว่า พรรครีพับลิกันอาจจะได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสด้วย ในขณะที่โพลล์โดยรวมแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์จากพรรครีพับลิกันและกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครตได้คะแนนนิยมสูสีกันมาก นอกจากนี้ เว็บไซต์การพนัน PredictIt ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แฮร์ริสมีโอกาสสูงกว่านายทรัมป์เล็กน้อยในการชนะการเลือกตั้ง แต่เว็บไซต์ Polymarket ยังคงแสดงให้เห็นว่า นายทรัมป์มีโอกาสสูงกว่าในการชนะการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวเคยได้รับแรงหนุนในช่วงก่อนหน้านี้จากการคาดการณ์ที่ว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้าและนโยบายด้านผู้อพยพของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ และนักลงทุนมองว่า นโยบายด้านภาษีนำเข้ากับความไม่แน่นอนในสหรัฐก็มีแนวโน้มที่จะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ ด้วย
ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอยู่ที่ 103.93 ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยร่วงลงจาก 104.30 ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์
ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 152.13 เยนในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ โดยดิ่งลงจากระดับปิดตลาดวันศุกร์ที่ 152.98 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.0877 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันจันทร์ โดยแข็งค่าขึ้นจาก 1.0834 ดอลลาร์ในช่วงท้ายวันศุกร์
ตลาดปริวรรตเงินตรามีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงหลังการเลือกตั้งในสหรัฐ ถ้าหากพรรคการเมืองของประธานาธิบดีคนใหม่สามารถครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสได้ด้วยเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ของบล.ทีดีระบุว่า ถ้าหากพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากได้ในสภาคองเกรสและได้เป็นประธานาธิบดี ดอลลาร์สหรัฐก็จะพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการด้านภาษีศุลกากร, มาตรการปรับลดภาษีเงินได้ และการปรับลดกฎระเบียบ และมาตรการของพรรครีพับลิกันจะส่งผลกระทบในทางลบต่อแนวโน้มของจีนด้วย แต่ถ้าหากพรรคเดโมแครตได้ครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรสและได้เป็นประธานาธิบดี สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลลบเป็นอย่างมากต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะว่านักลงทุนจะระบาย Trump trades และการทำประกันความเสี่ยงออกมา และสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบระลอกสองต่อดอลลาร์ด้วย เพราะว่ามาตรการปรับขึ้นภาษีเงินได้และมาตรการปรับเพิ่มกฎระเบียบของพรรคเดโมแครตจะเริ่มส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ บิทคอยน์ดิ่งลง 2.95% สู่ 67,077 ดอลลาร์ในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนปรับลด Trump trades
ค่าความผันผวนระยะหนึ่งสัปดาห์ของยูโร/ดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2023 ในช่วงนี้ ในขณะที่หยวนในตลาดต่างประเทศแข็งค่าขึ้น 0.42% สู่ 7.11 หยวนต่อดอลลาร์ ส่วนเปโซของเม็กซิโกพุ่งขึ้น 0.79% สู่ 20.129 เปโซต่อดอลลาร์ในวันจันทร์ นอกจากนี้ ค่าความผันผวนของหยวนก็ทะยานขึ้นแตะสถิติสูงสุดใหม่ ส่วนค่าความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ/เปโซเม็กซิโกทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 ทั้งนี้ นักลงทุนคาดการณ์ในตอนนี้ว่า มีโอกาส 98.5% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.50-4.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. และมีโอกาส 1.5% ที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75-5.00% ตามเดิมในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 6-7 พ.ย. โดยนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า มีโอกาส 82% ที่เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 17-18 ธ.ค. และคาดว่าเฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.76% ในปี 2025
นักลงทุนคาดว่า มีโอกาส 93% ที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 4.75% ในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. และคาดว่ามีโอกาส 7% ที่บีโออีอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.00% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. และนักลงทุนยังคาดการณ์อีกด้วยว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% ตามเดิมในวันอังคารนี้และในช่วงต่อไปในปีนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางสวีเดนมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% สู่ 2.75% ในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสวีเดนที่อ่อนแอ และเพื่อสกัดกั้นไม่ให้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%--จบ--
Eikon source text
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)
((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;
ไวท์เลเบล
Data API
ปลั๊กอินเว็บไซต์
เครื่องมือออกแบบโปสเตอร์
โครงการพันธมิตร
ความเสี่ยงของการสูญเสียในการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น FX สินค้าโภคภัณฑ์ ฟิวเจอร์ส พันธบัตร ETFs หรือเงินดิจิทัลอาจมีมาก คุณอาจสูญเสียเงินทุนทั้งหมดที่คุณฝากไว้กับโบรกเกอร์ของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการซื้อขายดังกล่าวเหมาะสมกับคุณหรือไม่ในสถานการณ์และทรัพยากรทางการเงินของคุณ
ไม่ควรตัดสินใจลงทุนโดยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานะอย่างละเอียดถี่ถ้วนด้วยตัวเองหรือปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ เนื้อหาเว็บของเราอาจไม่เหมาะกับคุณเนื่องจากเราไม่ทราบเงื่อนไขทางการเงินและความต้องการในการลงทุนของคุณ ข้อมูลทางการเงินของเราอาจมีความล่าช้าหรือมีความไม่ถูกต้อง ดังนั้นคุณควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจซื้อขายและการลงทุนของคุณ บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียเงินทุนของคุณ
หากไม่ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ คุณจะไม่สามารถคัดลอกกราฟิก ข้อความ หรือเครื่องหมายการค้าของเว็บไซต์ได้ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาหรือข้อมูลที่รวมอยู่ในเว็บไซต์นี้เป็นของผู้ให้บริการและผู้ค้าแลกเปลี่ยน